พุทธสถานอุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน
ชื่อเรื่องอื่น:
Buddhist learning park of Isan region
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
2007
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาออกแบบในโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการผึกทักษะในการสร้างโปรแกรมสำหรับเป็นฐานความคิดในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมไทย โดยผู้ศึกษาได้ห็นความสำคัญงานสถาปัตยกรรมไทยที่มีอยู่ในส่วนภูมิภาค อันมีความแตกต่างหลากหลายทาง วัฒนธรรมกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยโครงการนี้ได้ใช้ภาคอีสานเป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีความน่าสนใจคือ เป็นภูมิภาคใหญ่ที่มีการรับและส่งผ่านวัฒนธรรมอันหลากหลายมาช้านาน โดยใช้โครงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการศึกษา คือการสร้างพุทธมณฑลประจำภาค เพื่อสะท้อนความเป็นอีสาน
จากการศึกษาถึงประวัติความเป็นมาและวิถีชีวิตของผู้คนในภาคอีสานทำให้ทราบว่าชาวอีสานมีคติความเชื่อบางอย่างในการดำรงชีวิตคล้ายคลึงกัน นั่นคือการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ เนื่องด้วยภาคอีสานเป็นภูมิภาคที่แห้งแล้ง น้ำจึงมีความสำคัญโดยเฉพาะน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาล ได้สะท้อนออกมาทางวัฒนธรรมในรูปแบบของ “ฮีตสิบสอง” ซึ่งผสมผสานการดำเนินชีวิตกับคติความเชื่อทางพุทธศาสนา และความเชื่ออื่นๆ ซึ่งได้ถ่ายทอดผ่านพิธีกรรมและศิลปกรรมจนเกิดรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสร้างจินตนาการและสื่อความหมายในการรับรู้ร่วมกัน
ผู้ศึกษาได้ทดลองวิเคราะห์ความเชื่อเหล่านั้นเพื่อมาเป็นพื้นฐานแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยยึดความคิดเรื่องน้ำกับพระพุทธศาสนาเป็นแกน โดยผ่านสัญลักษณ์ที่คุ้นเคยของชาวอีสาน คือ นาค โดยเชื่อมโยงแนวคิดนี้ตั้งแต่ภาพรวมในการเลือกที่ตั้งโครงการจนถึงการวางผังการออกแบบตัวอาคาร นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้หยิบยืมการวิธีกรออกแบบทางสถาปัตยกรรมไทยมา ประยุกต์ในการแก้ปัญาหาในการออกแบบ แม้จะไม่ได้ลงรายละเอียดในการออกบบมากนัก แต่แนวคิดที่ได้นั้นสามารถนำไปประยุกต์และต่อยอดในการศึกษาหรือใช้งานต่อไปได้ This design project aims to emphasize skill design program for Thai architecture. The author studies the Thai architecture in northeastern region, that different from others. This area is enormous, and the culture is transform for a long time. Therefore, the architect designs the construction that related to Buddhism, is building Buddha Monthon in each region for reflect isan style.
The study found that isan history and life style depends on nature. Because of isan people lack of water, so water plays the important role in rainy season, that link to 12 months festival (Heed Sip Song), combined life style with Buddhism, and other beliefs through rituals and arts that occur tangible symbol, to increase the imagination and ensemble interpretation.
The authors analyze those beliefs to create the architectural design through water and Buddhism, through Naga, the symbol of water for isan people. The author connects the overview and the location of the site to building planning scheme design. More, the author exploits the Thai architectural design method for solving design problem too. Lastly, the author expects that the other could adapt this project and increase knowledge in the future.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (สถ.ม. (สถาปัตยกรรมไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2550
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
สถาปัตยกรรมไทย
สถานที่:
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
เจ้าของลิขสิทธิ์:
สถ 2/02 2550 004
จำนวนดาวน์โหลด:
205