วัจนกรรมแสดงความไม่พอใจของชาวตะวันออกกลางในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
Other Title:
Speech act of complaining of the middle East e-mails
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบรูปแบบวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจในภาษาอังกฤษของชาวตะวันออกกลางและผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ โดยการรวบรวมข้อมูลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงความไม่พอใจจํานวนกลุ่มละ 50 ฉบับ รวม 100 ฉบับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบทฤษฎีวัจนกรรมของ Searle (1969) ในการจําแนกรูปแบบวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจและอภิปรายผลโดยการใช้แนวคิดเกี่ยวกับมิติของความแตกต่างทางวัฒนธรรมของ Hofstede (1997) เป็นกรอบในการอภิปราย ผลการศึกษาพบว่าชาวตะวันออกกลางมีรูปแบบวัจนกรรมการแสดงความไม่พอใจทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ วัจนกรรมกลุ่มบอกกล่าว, กลุ่มแสดงความรู้สึก, กลุ่มชี้นํา, กลุ่มผูกมัดและกลุ่มแถลงการณ์เรียงตามลําดับ ภายใต้ 5 กลุ่มวัจนกรรมนี้มีสํานวนที่ใช้ในการแสดงความไม่พอใจสามารถแยกออกได้เป็นวัจนกรรมต่างๆ ดังนี้ 1) การต่อว่า (56%), 2) การขอบคุณ (50%), 3) การว่ากล่าวและการสั่ง (44%), 4) การบอกกล่าว (28%), 5) การถามและการผิดหวังเสียใจ (22%), 6) การทักทาย (20%), 7) การขอร้อง (14%), 8) การชมเชย (8%), 9) การข่มขู่ (6%) และ ลําดับสุดท้ายพบความถี่เท่ากัน 4 วัจนกรรมคือ การสัญญา การเสนอตัว การขอโทษและการคว่ําบาตร (2%) สําหรับกลุ่มผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่พบรูปแบบการใช้วัจนกรรม ทั้งหมด 4 กลุ่มวัจนกรรม ได้แก่ กลุ่มชี้นํา, กลุ่มบอกกล่าว, กลุ่มแสดงความรู้สึกและกลุ่มผูกมัด เรียงตามลําดับวัจนกรรมที่พบคือ 1) การสั่ง (50%), 2) การต่อว่า (44%), 3) การขอบคุณ (30%), 4) การกล่าว การว่ากล่าวและการทักทาย (28%), 5) การถาม (24%), 6) การผิดหวังเสียใจ (14%), 7) การชมเชย (8%), 8) การขอร้องและการข่มขู่ (6%), 9) การเสนอตัว (2%) รูปแบบการแสดงความไม่พอใจที่พบในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีเนื้อหาที่สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางมิติของวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษาอังกฤษทั้งสองกลุ่ม โดยสรุปได้ว่าชาวตะวันออกกลางมีการใช้ภาษาที่เน้นการแสดงความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมามากกว่าและมีการใช้ภาษาที่แสดงความแตกต่างระหว่างอํานาจสูงกว่าผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ This study aims to study and compare patterns of complaints in English used by Middle-eastern people and native speakers of English. Data collection was done from 50 complaint emails for each group, totaling 100 emails. The speech acts theory (Searle, 1969) was employed as the framework for data analysis, and the findings are discussed under Hofstede’s (1997) Dimensions of Cultural Variability.
Findings reveal that Middle-eastern writers’ complaints can be classified into 5 groups of speech acts, which include representative, expressive, directive, commissive, and declaration, respectively. Under these five groups, the expressions used in complaints can be categorized in to a number of speech acts, including: 1) complaining (56%), 2) thanking (50%), 3) scolding and ordering (44%), 4) stating (28%), 5) questioning and expressing condolences (22%), 6) greeting (20%), 7) requesting (14%), 8) complimenting (8%), 9) threatening (6%), and the last order comprises 4 speech acts of the same frequency, namely promising, offering, apologizing, and excommunicating (2%). For the native speakers of English, 4 groups of speech acts found are directive, representative, expressive and commissive, respectively. The speech acts found in expressing complaints involve 1) ordering (50%), 2) complaining (44%), 3) thanking (30%), 4) stating, scolding, and greeting (28%), 5) questioning (24%), 6) expressing condolences (14%), 7) complimenting (8%), 8) requesting and threatening (6%), and 9) offering (2%). Patterns of complaints in this study show differences in cultural dimensions between both groups of English users. The Middle-eastern writers’ complaints are found to be more expressive and show more power distance than those of the native speakers.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
643