ปัจจัยเชิงบวกต่อการบริหารเวชภัณฑ์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี

Other Title:
Positive factors in pharmaceutical management : a case study of hospitals in Chonburi
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2017
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี และศึกษาปัจจัยเชิงบวกที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี ทำการศึกษาสถานการณ์บริหารเวชภัณฑ์โดยการตรวจประเมินโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี12 แห่งพร้อมทั้งสำรวจปัจจัยเชิงบวกโดยใช้แบบสอบถามกับเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานบริหารจัดการด้านยาของโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรี จำนวน 78 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน
ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างทั้ง 12 แห่ง พบว่า สถานการณ์การบริหารเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาลในจังหวัดชลบุรีมีโรงพยาบาลที่ดำเนินงานบริหารเวชภัณฑ์เป็นไปตามเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพระบบการบริหารเวชภัณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุขทุกด้าน 1 แห่ง (ร้อยละ 8.33)และมีโรงพยาบาลที่ต้องทำการปรับปรุงและแก้ไข 11 แห่ง (ร้อยละ 91.67) โดยข้อที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเป็นปัจจัยทางการบริหารด้านกระบวนการบริหารทั้งหมดและเมื่อนำผลการสำรวจการปฏิบัติงานของโรงพยาบาลทั้ง 2 กลุ่ม (กลุ่มที่ผ่านเกณฑ์กับกลุ่มที่ไม่ผ่านเกณฑ์) มาเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านยาทั้ง 9 ข้อตามมาตรการ พบว่า มี 2 ข้อที่ได้ผลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1)ด้านระบบบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ ข้อการทำแผนจัดซื้อยาแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด (p=0.003) และ2)ด้านการควบคุม/รักษา ข้อการเปิดคลังเวชภัณฑ์ผู้ถือลูกกุญแจคลังเวชภัณฑ์ 2 คน ซึ่งมีกุญแจคนละดอก ต้องมาเปิดประตูพร้อมกันทุกครั้งจึงจะสามารถเข้าคลังเวชภัณฑ์ได้ (p=0.021) ซึ่งแตกต่างกัน ในขณะที่ด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ข้อที่แตกต่างกันนี้เป็นปัจจัยทางการบริหาร (4M) ด้านกระบวนการบริหาร ทั้งสองข้อ และจากการจัดลำดับความคิดเห็นให้ความสำคัญกับปัจจัยทางการบริหาร(4M) ด้านกระบวนการบริหารมากที่สุด แสดงว่า ปัจจัยเชิงบวกที่มีผลต่อการบริหารเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลจังหวัดชลบุรีได้แก่ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหาร The objectives of this research were to study medical supplies management system conditions and to study the factors positively influencing medical supplies management system of 12 hospitals in Chonburi province. The data of medical supplies management system conditions had been collected from annual audit programme of 12 hospitals in Chonburi province. The 9 control measures of medical supplies management system of Ministry of Public Health was used to be the audit framework, The routine practice of 78 persons who were responsible for medical supplies management system from 12 hospitals in Chonburi had been surveyed by questionnaires . The data were analyzed by using the descriptive statistics and inferential statistic methods.
The results of study revealed there was only 1 of 12 hospitals fully complied with all 9 control measures (8.33 percent) and the other 11 hospitals were required improvement and correction (91.67 percent), and the statistics analysis results revealed that there were 2 control measures of medical supplies management system were significantly different between the fully compliant hospital and the other 11 non-compliant hospitals; 1) medical supplies management system in the topic of the procurement plan to be accomplished on schedule (p=0.003) and 2) control/preservation in the topic of the medical supplies store locking system required two(2) independent locks and two(2) independent key keepers to unlock the door (p=0.021), while the other 7 control measures had no different between both hospital groups. These 2 control measures were the management factor which was a part of 4M management system, therefore these 2 control measures were the 2 particular factors positively influencing medical supplies management system of 12 hospitals in Chonburi provin
Type:
Degree Name:
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
10