Prediction of Electrical Energy Consumption for Electric Vehicles According to Energy Efficiency Plan in Thailand
การพยากรณ์ปริมาณพลังงานไฟฟ้ากรณีส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าตามแผนอนุรักษ์พลังงานในประเทศไทย
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
28/6/2024
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The trend of energy demand is increasing because the world's population is increasing and the increasing use of electric cars Causes the problem of carbon dioxide (CO2) emissions. This study is to forecast the demand and supply of electricity in Thailand according to the Power Development Plan (PDP2018) and the Energy Efficiency Plan (EEP2015) in order to assess the energy security of Thailand. It also aims to predict the excess electricity and the amount of carbon dioxide emissions from 2022 to 2035 using the EnergyPLAN program to simulate situations, including Scenario 1: Promote the electric vehicles 1.2 million in 2036, Scenario 2: Promote the electric vehicles 2.3 million in 2036, and Scenario 3: Estimated the electric vehicles 2.8 million in 2036 and survey the behavior of demand for electricity to charge the batteries of plug-in hybrid electric vehicles and battery electric vehicles to collect data on electricity consumption. The results found that the total electricity demand for 3 scenarios in 2036 is equal to 344.52 TWh/year, 354.43 TWh/year, and 359.69 TWh/year, respectively. The excess electrical energy of 3 scenarios in 2036 is equal to 123.29 TWh/year, 113.35 TWh/year, and 107 TWh/year, respectively. Electricity demand for charging electric vehicle batteries in 2036. On weekdays, 6:00 a.m. - 7:00 a.m. has the lowest users, and 9:00 p.m. - 10:00 p.m. is the highest users. As for holidays, it was found that 7:00 a.m. - 8:00 a.m. has the lowest users, and 11:00 p.m. - 12:00 a.m. is the highest users. The amount of carbon dioxide emissions reduction for 3 scenarios in 2036 is equal to 3.608 MtCO2eq, 6.827 MtCO2eq and 8.417 MtCO2eq respectively. แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเพิ่มขึ้นและการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์อุปสงค์และอุปทานพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตของประเทศไทย (PDP2018) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP 2015) เพื่อพิจารณาความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยและพยากรณ์ปริมาณไฟฟ้าส่วนเกิน และปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565-2579 โดยใช้โปรแกรม EnergyPLAN ในการจำลองสถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์ที่ 1: ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปี พ.ศ.2579 จำนวน 1.2 ล้านคัน สถานการณ์ที่ 2: ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในปี พ.ศ.2579 จำนวน 2.3 ล้านคัน และสถานการณ์ที่ 3: ประมาณการรถยนต์ไฟฟ้าในปี พ.ศ.2579 จำนวน 2.8 ล้าน โดยสำรวจพฤติกรรมความต้องการใช้ไฟฟ้าชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าประเภทไฮบริดปลั๊กอินและรถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอรี่ เพื่อรวบรวมข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า ผลการสำรวจและจำลอง พบว่า ความต้องการไฟฟ้ารวมของทั้ง 3 สถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2579 เท่ากับ 344.52 TWh/year 354.43 TWh/year และ 359.69 TWh/year ตามลำดับ พลังงานไฟฟ้าส่วนเกินของทั้ง 3 สถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2579 เท่ากับ 123.29 TWh/year 113.35 TWh/year และ 107 TWh/year ตามลำดับ ความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าปี พ.ศ.2579 ในวันธรรมดา เวลา 6.00-7.00 น. มีผู้ใช้งานน้อยที่สุด และเวลา 21.00-22.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด ส่วนวันหยุดและนักขัตฤกษ์พบว่า เวลา 7.00-8.00 น. มีผู้ใช้งานน้อยที่สุด และเวลา 23.00-24.00 น. เป็นช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานมากที่สุด ปริมาณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของทั้ง 3 สถานการณ์ ในปี พ.ศ. 2579 เท่ากับ 3.608 MtCO2eq, 6.827 MtCO2eq และ 8.417 MtCO2eq ตามลำดับ
Type:
Discipline:
วิศวกรรมพลังงาน แผน ก แบบ ก 2
Total Download:
9
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
พฤติกรรมการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสถานที่ทำงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โรงไฟฟ้าราชบุรี
Collection: วิทยานิพนธ์Type: Thesisจุไรรัตน์ ธิไหล; Jurairad Tilai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2009) -
การป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของคนงานจ้างเหมาบริการด้านระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3(ภาคกลาง) จังหวัดนครปฐม
Collection: Theses (Master's degree) - Community Psychology / วิทยานิพนธ์ – จิตวิทยาชุมชนType: Thesisชนรดา ยุวนะเตมีย์; Chanarada Yuvanatemiya (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2010) -
ความฉลาดทางอารมณ์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน: กรณีศึกษา ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
Collection: Theses (Master's degree) - Public Administration / วิทยานิพนธ์ – รัฐประศาสนศาสตร์Type: Thesisทิพย์ประภา พิศาลกิตติคุณ (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558-12-29)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงาน ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน ศึกษาเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้ปฏิบัติงานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ศึกษาเปรียบเทียบป ...