THE DEVELOPMENT OF SCHOOL MANAGEMENT MODELIN THE NEW NORMAL IN SCHOOLS UNDER THE OFFICEOF SECONDARY EDUCATION SERVICE AREAS IN BANGKOK
การพัฒนารูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
Author:
Advisor:
Date:
28/6/2024
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research aims to 1) study the factors of the effectiveness of the new normal school management in school under the Secondary Educational Service Area Office in Bangkok 2) Study from success in the normal school management. 3) Develop a new normal school management model for school under the Office of Secondary Educational Service Area Office in Bangkok; and 4) Present a School Management Model in The New Normal in School Under The Office of Secondary Education Service Areas. The research has 4 steps: Step 1: study the factors of the effectiveness of the new normal school management in school. To test the research hypothesis, Step 2 : Learned from success in the new normal management of school under the Secondary Educational Service Area Office in Bangkok by means of in-depth interviews with key informants from school. Total of 10 places. Step 3: Development of a new normal school management model for school under the Bangkok Secondary Educational Service Area Office. It was developed from quantitative and qualitative data. Then it was presented to 13 experts for group discussion. and step 4, presenting the new normal school management model of school under the Bangkok Secondary Educational Service Area Office. The researcher presents the model in a policies forum to 13 experts to jointly evaluate the quality of the model.
The results found that 1) Analysis of the factor found that the strategic school management latent variables have a positive influence on the school management effectiveness. The leadership latent variable has a positive influence on the effectiveness of school management. Latent variable of teaching and learning management There is no positive influence on the effectiveness of school management. The latent variable teachers' skills did not have a positive influence on the effectiveness of school management. The latent variable of student care and assistance has a positive influence on the effectiveness of school management. The strategic school management latent variable has a positive influence on leadership. The strategic school management latent variable has a positive influence on teaching and learning. The strategic of school management latent variable has a positive influence on teachers' skills. The strategic of school management latent variable has a positive influence on student care and support. Statistically significant at the .05 level. 2) Extracting lessons learned from success in managing educational institutions in the new normal, it was found that success factors include teacher development and creating a good learning environment. It is the most important factor. Success process of school in developing teacher quality Curriculum design and development, creating an environment conducive to learning and quality operational processes It is the most important process. and the effectiveness of school in academic achievement It is the effectiveness that is most important. 3) The School Management Model in The New Normal in School consists of 6 aspects of the success factors of the new normal educational institution, the 5 aspects of the success process of the new normal educational institution, and the effectiveness of the educational institution. New normal, 3 sides 4) Results of the overall assessment of the quality of the new normal school management model were found to be accurate, appropriate and practically usable at the highest level. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครผู้วิจัยดำเนินการวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาตัวแบบเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ เพื่อทดสอบสมมติฐานการวิจัย ขั้นตอนที่ 2 การถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจากสถานศึกษาจำนวน 10 แห่ง ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร โดยพัฒนาจากข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ จากนั้นจึงนำเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 13 คนเพื่อร่วมกันสนทนากลุ่ม และขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอรูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยนำเสนอรูปแบบในการประชุมเสวนาเพื่อนำเสนอนโยบาย ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 13 คน เพื่อร่วมกันประเมินคุณภาพของรูปแบบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์ตัวแบบเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ พบว่า ตัวแปรแฝงการจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา ตัวแปรแฝงภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา ตัวแปรแฝงการจัดการเรียนการสอน ไม่มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา ตัวแปรแฝงทักษะของครูไม่มีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา ตัวแปรแฝงการดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อประสิทธิผลการจัดการสถานศึกษา ตัวแปรแฝงการจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะผู้นำ ตัวแปรแฝงการจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อการจัดการเรียนการสอน ตัวแปรแฝงการจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อทักษะของครู ตัวแปรแฝงการจัดการสถานศึกษาเชิงกลยุทธ์มีอิทธิพลทางบวกต่อตัวการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การถอดบทเรียนความสำเร็จในการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ พบว่า ปัจจัยความสำเร็จด้านการพัฒนาครู และ การสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ดี เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด กระบวนการความสำเร็จของสถานศึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพครู การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร, การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และกระบวนการดำเนินงานที่มีคุณภาพ เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่สุด และประสิทธิผลของสถานศึกษาด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นประสิทธิผลที่มีความสำคัญที่สุด 3) รูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จของสถานศึกษาแบบปกติใหม่ 6 ด้าน กระบวนการความสำเร็จของสถานศึกษาแบบปกติใหม่ 5 ด้าน และ ประสิทธิผลของสถานศึกษาแบบปกติใหม่ 3 ด้าน 4) ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการสถานศึกษาแบบปกติใหม่ภาพรวมพบว่ามีความถูกต้องเหมาะสมและสามารถนำไปใช้ได้จริงในระดับมากที่สุด
Type:
Discipline:
พัฒนศึกษา แบบ 2.1
Collections:
Total Download:
10