รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ตรวจพิสูจน์สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ
Other Title:
Model for human resource management of forensic investigators in the Office of Police Forensic Science
Advisor:
Date:
2018
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทรัพรัพยากรมนุษย์ของผู้ตรวจพิสูจน์สังกัดสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงประมาณและเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ตรวจพิสูจน์ จำนวน 250 คน จากประชากรจำนวน 645 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่มและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ตรวจพิสูจน์คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น(PNI Modified) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ตรวจพิสูจน์ เมื่อพิจารณาระดับสภาพที่ควรจะเป็นของผู้ตรวจพิสูจน์โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนระดับสภาพที่เป็นจริงโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI Modified) พบว่าโดยภาพรวมของความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ตรวจพิสูจน์มีค่าเท่ากับ .272
2. รูปแบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของผู้ตรวจพิสูจน์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ที่มาของรูปแบบ ได้แก่ 1) ชื่อรูปแบบ 2) แนวคิดและหลักการของรูปแบบ 3) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 2 องค์ประกอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) บุคลากร 2) งบประมาณ 3) วัสดุอุปกรณ์ 4) การบริหารจัดการ 5) การเมืองและกฎหมาย 6) เศรษฐกิจ 7) สังคม และ 8) เทคโนโลยี ส่วนที่ 3 กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มี 5 ชั้นตอน ได้แก่ 1) การออกแบบองค์การ 2) การจัดหาบุคคลเข้าทำงาน 3) การจัดการประสิทธิภาพการทำงานและการประเมิน 4) การฝึกอบรมพนักงานและพัฒนาองค์กร 5) ระบบการให้รางวัลและสิทธิประโยชน์ ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบไปใช้ ประกอบด้วย 1) เงื่อนไขในการนำรูปแบบไปใช้ 2) ข้อแนะนำการนำรูปแบบไปใช้ ส่วนที่ 5 ความสำเร็จของรูปแบบพิจารณาได้จากตัวบ่งชี้ 1) ตัวบ่งขึ้คุณลักษณะบุคลากร และ 2) ตัวบ่งชี้คุณลักษณะองค์การ
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
สาขาวิชาพัฒนศึกษา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
11