The influence of organizational culture on productivity improvement of officials in the digital society : A case study of Budget Bureau, Office of the Prime Minister (Thailand)
อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัลกรณีศึกษา สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
4/7/2023
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this research was to study the organizational culture and productivity improvement of the Budget Bureau personnel including government officials, and permanent and government employees, and to do a comparative study of productivity improvement in the digital society based on the subjects’ personal data and the relationship between organizational culture and productivity improvement in digital society. The research was conducted using 300 samples of the Budget Bureau personnel. The personal data were analyzed using frequency, percentage, mean, and standard deviation. Relative productivity and relationship between variables were analyzed using t-test and One-way ANOVA with statistical significance at the 0.05 level, as well as the Stepwise Multiple Regression Analysis.
The finding from the research indicated that different personal experiences such as education level, work period, and work position have an influence on the level of productivity improvement in digital society at 5% significance level. On the other hand, personal characteristic including gender, age, and marital status have no significant influence on the productivity improvement in digital society. The study also showed that organizational culture has an impact on productivity improvement of the Budget Bureau personnel at 5% significance level. Finally, the Multiple Linear Regression analysis, showed that 4 dimensions of organizational culture, namely Human Resource Development, Job Performance, Humanistic Workplace, and Work Environment were positive factors to productivity improvement in the digital society. การวิจัยเรื่อง อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัล กรณีศึกษา สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์การและการพัฒนาศักยภาพการทำงานของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ สำนักงบประมาณและศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัล จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การและการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัล โดยเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการศึกษาค้นคว้าจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ รวม 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ วิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์การ ศักยภาพการทำงานโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และในการเปรียบเทียบศักยภาพการทำงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล จะใช้ t-test สำหรับตัวแปรที่จำแนก 2 กลุ่ม และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน สำหรับตัวแปรจำแนกมากกว่า 2 กลุ่ม กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบมีลำดับขั้น
ผลจากการวิจัยพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลด้านระดับการศึกษา ด้านระยะเวลาการทำงาน และด้านตำแหน่ง ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 แต่ข้อมูลส่วนบุคคลด้านเพศ ด้านอายุ และด้านสถานภาพ ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัลไม่แตกต่างกัน และวัฒนธรรมองค์การส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ สำนักงบประมาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า วัฒนธรรมองค์การจำนวน 4 มิติ คือ มิติการพัฒนาบุคลากร มิติผลการปฏิบัติงาน มิติที่ทำงานที่ใส่ใจบุคคล และมิติสภาพแวดล้อม เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพการทำงานในสังคมดิจิทัลในทางด้านบวก
Type:
Discipline:
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2
Collections:
- วิทยานิพนธ์ [494]
Total Download:
28