A critical study of the concept "Adhyasa" in the Brahmasutra-Sankarabhasya

Other Title:
การศึกษาแบบวิเคราะห์แนวคิดเรื่อง "อธฺยาส" ใน "พฺรหฺมสูตฺรศางฺกรภาษฺย"
Author:
Subject:
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดของศังกราจารย์ในพฺรหมสูตฺรศางฺกรภาษฺย โดยแนวคิดที่สำคัญ อธฺยาส (การทาทับ)
การวิจัยนี้สมมุติฐานว่า ความคิดของศังกราจารย์ในพฺรหมสูตฺรศางฺกรภาษฺย มีอยู่หลายชั้นหลายลำดับ ความคิดแบบนี้เกิดขึ้นมา เพราะว่า ความคิดของศังกราจารย์มีทรรศนะสองชนิดเกี่ยวข้องกับแนวคิด “สิ่งสูงสุด” กล่าวคือ สฺวรูป-ลกฺษณา และ ตฎสฺถ-ลกฺษณา—The transcendental aspect และ the transcendent aspect— ทรรศนะสองชนิดนี้ทำใหความคิดของศังกราจารย์มีหลายชั้น หลายลำดับ ซับซ้อน
ดังนั้น การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความหมายของทรรศนะสองชนิดนี้ในความคิดของศังกราจารย์ โดยใช้วิธีการการสืบค้นหลักฐานที่ศังกราจารย์เองแสดงในพฺรหมสูตฺรศางฺกรภาษฺยกล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิจัยนี้ควรจะมุ่งอธิบายความหมายของสมาธิ (นิทิธฺยาสน อุปาสน วิทฺยา) อย่างชัดแจ้ง โดยการศึกษาการแปลความหมายของคัมภีร์อุปนิษัท การพิจารณาตามตรรกะ และการพิจารณาถึงปัญหาเรื่องกรรม และท้ายสุดกล่าวถึงความหมายของสมาธิหรือ อธฺยาส ในความคิดของศังกราจารย์
ผลการวิจัยพบว่า 1) อธฺยาส คือคำที่มีความหมายเหมือนกับสมาธิ ซึ่งสำคัญที่สุดในความคิดของศังกราจารย์ 2) ปัญหาของสมาธิเกี่ยวข้องกับทรรศนะของสภาพหรือภาวะของชีวิตเรา 3) ความคิดเรื่อง สฺวรูป หรือ สฺวภาว เป็นพื้นฐานทางปรัชญาสำหรับทรรศนะนี้ 4) ทรรศนะเรื่องสภาพของชีวิตเรานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อนิยามความหมายของตบะ (ตปสฺ) ขึ้นใหม่ ซึ่งศังกราจารย์เข้าใจว่าเป็นแสงสว่างของแสงสว่างทั้งหลายที่นำเสนอโดยคัมภีร์อุปนิษัท The purpose of this study is to approach the thought of Sa kara in the Brahmasutra-sa karabha ya through a key concept of adhyasa (superimposition).
This study presupposes that Sa kara’s thought in the Brahmasutra-sa karabha ya consists of several phases. The biggest factor of such a hierarchical thought is the twofoldness of a concept of para (the supreme), such as svarupa-lak a a and ta as the-lak a a—the transcendental aspect and the transcendent aspect--. These two aspects constitute the phases of Sa kara’s thought like the warp and woof of a textile.
Thus, this study is intended to disentangle the snarled threads, taking account of the methodology and the prerequisites of the inquiry which are presented by Sa kara himself. In other words, it is aimed to clarify the position of “meditation” (nididhyasana, upasana, vidya) or adhyasa in Sa kara’s thought, based on the hermeneutics of the Upani ads, the logical consideration based on the scriptures, and the consideration of obligatory actions, and to conclude what adhyasa stands for in Sa kara’s thought.
The conclusion of this is as follows : 1) Adhyasa is almost a synonym of “meditation,” which is the most significant phase in Sa kara’s thought. 2) The issue of “meditation” is concerned with our realization of our modes of existence (avastha). 3) The thought of svarupa or svabhava (‘essence’ or ‘one’s own nature’) constitutes the philosophical basis for this realization. 4) The purpose of this realization of our modes of existence is to re-confirm or re-realize the meaning of “religious austerity” (tapas), which Sa kara reads as the light of lights (jyoti a –jyoti) presented by the Upani ads.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาภาษาสันสกฤต
Collections:
Total Download:
327