ศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี : งานปูนปั้นปัจจุบันย้อนอดีต
Other Title:
The art of Phetchaburi School : the study of stucco from the present back to the past
Advisor:
Subject:
Date:
2014
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์แนวความคิดและการออกแบบผลงานปูนปั้น ภายใต้เงื่อนไขและบริบททางสังคมช่างของกลุ่มช่างปูนปั้นเมืองเพชรบุรียุคปัจจุบัน 2) เพื่อหาเอกลักษณ์ และความสืบเนื่องขององค์ความรู้ แนวความคิด และรูปแบบของปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรี 3) เพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะสกุลช่างเพชรบุรีแขนงอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับงานปูนปั้น ได้แก่ งานจำหลักไม้ และงานจิตรกรรม โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผลงานช่างในเครือข่ายช่างทองร่วง เอมโอษฐ์ และช่างพื้นบ้านรายย่อย ที่มีชื่อเสียง และมีผลงานในเขตจังหวัดเพชรบุรีเป็นหลัก
วิธีวิจัยโดยการลงพื้นที่เก็บข้อมูลช่าง และงานศิลปกรรม โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลทมั้ง 2 ส่วน เริ่มจากงานปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรียุคปัจจุบัน ก่อนนำประเด็นศึกษาไปตรวจสอบย้อนกลับกับกระแสงานช่างเมืองเพชรบุรีในยุคก่อนหน้า
ผลการศึกษาพบว่า 1) งานปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรียุคปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแนวประเพณีสร้างสรรค์ กับกลุ่มอนุรักษ์แนวประเพณีไทย สัมพันธ์กับบทบาท และความคาดหวังของสังคมต่อช่างปูนสปั้นสกุลช่างเพชรบุรีในฐานะของผู้สืบทอดวัฒนธรรม และงานช่างโบราณ 2) เอกลักษณ์ในงานปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรียุคปัจจุบัน มีทั้งส่วนที่สืบเนื่อง และ พัฒนาขึ้นใหม่ภายใต้บริบททางสังคมยุคปัจจุบัน ทั้งนี้เอกลักษณ์บางประการกลับไม่ใช่รูปแบบนิยม และแพร่หลายอยู่เฉพาะบางกลุ่มช่างเท่านั้น 3) ผลงานปูนปั้นเมืองเพชรบุรียุคปัจจุบันมีพัฒนาการสืบเนื่องกับกระแสงานช่างเมืองเพชรบุรี ปรากฏหลักฐานระหว่าง พ.ศ. 2460-2510 ได้แก่ แบบลวดลายอสมมาตร การสร้างงานแนวสัจนิยม แบบแผนการออกลวดลายในงานหน้าบัน และความนิยมแสดงเรื่องราวผ่านงานประเภทภาพ หรืองานประเภทลาย ผ่านกลุ่มประติมากรรม “ตัวทับลาย” This research has three main aims : 1) to study the concept in designing stucco motifs of the nowadays Petchaburi School; 2) to search for the identity and the teaching way of the Petchaburi School; 3) to enlarge the knowledge on the other Petchaburi-School art fields which wire related with the stucco work of this group. The main focus in this research is the works created by Thongruang Emoat and other renowned local artisans, and found in Petchaburi.
The research was done by interviewing artisans, studying the stucco works in the sites and then analyzing the results from the first two steps. Moreover, the researcher studied the earlier works of this school in order to find if they had any influence on the Petchaburi-School stucco works of the present days.
The results of the research are as follows :
1) The stucco works of the Petchaburi School can be divided into two groups, liberal
traditional group and conservative traditional group. The occurrence of those two is involved with society’s expectation toward Petchaburi artisans as successors of ancient art.
2) Some identities of Petchaburi-School stucco works are inherited from the past while
some are innovated under the condition of nowadays society. It is found that some features are not quite famous and practiced only in some groups of artisans.
3) The Petchaburi-School stucco works, which show a close link with earlier works, were
mainly created during 1917-1967. They are for example unsymmetrical motifs, realistic designs and the concept of designing the middle of the pediments.
Description:
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2557
Type:
Degree Name:
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะไทย
Spatial Coverage:
เพชรบุรี
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
440