Thai Monster Novels: A Study of Genre and the Concept of Otherness
นวนิยายอสุรกายของไทย: การศึกษาประเภทวรรณกรรมและแนวคิดเรื่องความเป็นอื่น
Author:
Advisor:
Date:
4/7/2023
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
Thai Monster Novels: A Study of Genre and the Concept of Otherness aims to investigate the characteristics of monsters in Thai novels with regards to literature genres and the concept of otherness demonstrated in the stories. Using Jeffrey Cohen’s monster theory, the researcher selects nine Thai novels to conduct the literary analyses: Phrachan Daeng (1968), Maruttayoo Keow (1978), Manoot Shin Suan (1980), Sisa Marn (1988), Phraya Pla (1988), Kawao Ti Bang Pleng (1989), Keow Koh Khon Asorapit (2000), Nirat Mahannop (2015), and Yaksinee Narumit (2018).
The researcher classifies Thai monster novels into three criteria: the formation of monster characters, the formation of monster characters with explicit connection to the main plot, and the concept of otherness presented in the stories. It is observed that the monsters are constructed as “others” or different in terms of their physical appearance, an assemble of unharmonious body parts, as well as their characters, invasive and distasteful. Another criterion is the connection between the monsters and the main plot using four components, namely onset, discovery, confirmation, and confrontation. The monsters illustrate the otherness through these events, reflecting what society does and does not wish for which, therefore, dictates the existence of the monsters as ‘others’. The concept of otherness is examined in four comparative aspects: monsters and fear of women, monsters and sexual anxiety, monsters and communism, and monsters and marginalized groups.
Furthermore, having placed Thai monster novels with social and cultural context, it is revealed that monsters are closely intertwined with the conditions of the society in which the novels were published; in other words, the monsters mirror concerns in the society since their existence and presence solidify that humans lack the ability to face otherness. Instead of accepting and recognizing the otherness within themselves, humans attempt to evade or dismiss it in the same way they avoid the monsters. To conclude, Thai monster novels indicate the humans’ effort to eliminate the state of otherness from their psyche, shunning the monsters to maintain the societal norms before coming into realization that the monsters are kept hidden to prolong the identity of humanity. Consequently, otherness is defined by the different characteristics determined by the social norms. วิทยานิพนธ์เรื่องนวนิยายอสุรกายของไทย: การศึกษาประเภทวรรณกรรมและแนวคิดเรื่องความเป็นอื่นมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ประกอบด้วย 1. เพื่อศึกษาลักษณะเฉพาะของนวนิยายอสุรกายของไทยในฐานะประเภทวรรณกรรม และ 2. เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องความเป็นอื่นที่ปรากฏในนวนิยายอสุรกายของไทย ผ่านกรอบแนวคิดหลักคือทฤษฎีอสุรกายของ Jeffrey Cohen โดยคัดเลือกนวนิยายของไทยมาเป็นตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 9 เรื่อง ได้แก่ พระจันทร์แดง (2511) มฤตยูเขียว (2521) มนุษย์ชิ้นส่วน (2523) ศีรษะมาร (2531) พญาปลา (2531)
กาเหว่าที่บางเพลง (2532) เขี้ยวขอ...คนอสรพิษ(2543) นิราศมหรรณพ (2558) และยักษิณีนฤมิต (2561) ผู้วิจัยสามารถสรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้
วิทยานิพนธ์นี้จัดประเภทวรรณกรรมนวนิยายอสุรกายของไทยด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ การสร้างตัวละครอสุรกาย การสร้างตัวละครอสุรกายที่สัมพันธ์กับโครงเรื่องหลัก และแนวคิดเรื่องความเป็นอื่นที่นำเสนอในตัวบท โดยตัวละครอสุรกายถูกสร้างให้เป็นอื่นทั้งทางร่างกายที่เกิดจากหลอมรวมสิ่งที่ไม่เข้ากันอยู่ในร่างกายเดียวกันและถูกทำให้มีจิตใจโหดร้าย คุกคาม และน่ารังเกียจ ลักษณะต่อมาที่ใช้พิจารณาตัวบทในฐานะนวนิยายอสุรกายคือการนำตัวละครอสุรกายไปผูกกับโครงเรื่องผ่านองค์ประกอบ 4 ประการ คือ การปรากฏตัว การค้นพบ การยืนยัน และการเผชิญหน้า โดยตัวละครอสุรกายจะนำพาองค์ประกอบเหล่านี้ไปสู่แนวคิดเรื่องความเป็นอื่น ซึ่งความเป็นอื่นในตัวบทจะใช้อสุรกายเป็นตัวกลางเพื่อชี้ให้เห็นการปะทะกันระหว่างสิ่งที่สังคมต้องการและสิ่งที่สังคมไม่ต้องการ ดังนั้น การดำรงอยู่ของอสุรกายจึงมีสถานะเป็นอื่นไปจากบรรทัดฐานเสมอ ประเด็นเรื่องความเป็นอื่นที่พบสามารถแบ่งได้ 4 ประเด็น ได้แก่ อสุรกายกับความหวาดกลัวผู้หญิง อสุรกายกับความวิตกกังวลเรื่องเพศ อสุรกายกับภัยคอมมิวนิสต์ และอสุรกายกับความเป็นคนชายขอบ
นอกจากนั้น เมื่อพิจารณานวนิยายอสุรกายของไทยร่วมกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรมยังพบอีกว่า อสุรกายสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับสภาพสังคมในแต่ละช่วงเวลาที่นวนิยายพิมพ์เผยแพร่ ทำให้เห็นว่าอสุรกายถือเป็นความวิตกกังวลของสังคม เนื่องจากการมีอยู่ของอสุรกายยืนยันถึงภาวะที่มนุษย์ไม่สามารถจัดการกับความเป็นอื่นได้ อสุรกายคือสิ่งที่มนุษย์หลบเลี่ยงหรือปฏิเสธที่จะยอมรับว่าแท้จริงแล้วความเป็นอื่นคือส่วนหนึ่งของตนเอง นวนิยายอสุรกายของไทยชี้ให้เห็นความพยายามของมนุษย์ที่จะขับความเป็นอื่นออกไปจากจิตใจตนเองและกำจัดให้พ้นออกไปจากสังคมอันเป็นปกติตามความคาดหวังของสังคม ก่อนจะตระหนักว่าอสรุกายคืออีกด้านหนึ่งที่ถูกซุกซ่อนไว้เพื่อให้อัตลักษณ์ความเป็นมนุษย์ยังดำรงอยู่ได้ ความเป็นอื่นจึงมีความหมายด้วยการเปรียบต่างกับความเป็นเราตามที่บรรทัดฐานสังคมกำหนดไว้
Type:
Discipline:
ภาษาไทย แบบ 2.1 อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
63