การศึกษาเชิงวิเคราะห์พิธีเลี้ยงผีเขมรในหมู่บ้านหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
Other Title:
An analytical study of Khmer spiritual worship ceremony in Ban Huasamrong Plaeng Yao district Chachoengsao province
Author:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรม องค์ประกอบของพิธี ขั้นตอน และคำศัพท์ที่ใช้ในการประกอบพิธีเลี้ยงผีเขมร โดยเลือกทำการวิจัยจากพิธีเลี้ยงผีเขมรของชาวบ้านหัวสำโรง ตำบลหัวสำโรง อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการศึกษาพบว่า
1. พิธีเลี้ยงผีเขมร จัดทำขึ้นโดยมีจุดประสงค์สองประการ คือ เลี้ยงประจำปีเพื่อขอบคุณผีบรรพบุรุษที่ช่วยปกปักรักษาและดูแล และเลี้ยงเพื่อแก้บน
2. องค์ประกอบของพิธียังดำรงไว้แบบเดิมที่เคยปฏิบัติมา ประกอบด้วย วันเวลาในการประกอบพิธี สถานที่ ผู้ประกอบพิธี เครื่องประกอบพิธี และขั้นตอนพิธีกรรม
3. ข้อดีและข้อเสียของพิธีกรรม ข้อดี คือ ช่วยรักษาพิธีกรรมขนบธรรมเนียมประเพณีชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นเครื่องควบคุมพฤติกรรมของคนในชุมชนให้มีระเบียบวินัย เป็นเครื่องช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของประชาชน สร้างความกตัญญูแก่เยาวชน ส่งเสริมให้บุคคลในชุมชนมีความสามัคคีกัน ข้อเสีย คือ คนที่ถูกเลือกให้เป็นร่างทรงมักมีอาการเจ็บป่วยต่อเมื่อได้รับเป็นร่างทรงแล้วจึงหาย ค่าใช้จ่ายในการทำพิธีสูงเป็นภาระสำหรับลูกหลานที่ต้องการจัดเตรียมพิธีกรรม
4. แนวโน้มในการทำพิธีเลี้ยงผีเขมร คาดว่าในอนาคตจะมีการทำพิธีลดน้อยลง
5. คำศัพท์ที่ใช้ในการประกอบพิธี ทั้งคำศัพท์เรียกลำดับขั้นตอน และคำศัพท์เรียกเครื่องประกอบพิธีที่นำมาศึกษามีจำนวน 65 คำ แบ่งได้เป็น 5 หมวด คือ หมวดเครื่องแต่งกาย เครื่องประกอบพิธี หมวดอาหาร หมวดคน และหมวดสถานที่ โดยทั่วไปคำศัพท์ภาษาเขมรถิ่น มักออกเสียงไม่ตรงกับคำศัพท์ภาษาเขมรกัมพูชา อาจเป็นเพราะว่าคนส่วนใหญ่ในชุมชนพูดภาษาไทยในชีวิตประจำวันจึงทำให้ภาษาไทยมีอิทธิพลต่อการออกเสียง The purpose of this research is to study a Khmer spiritual worship ceremony, and its components, procedures and vocabulary used in the ceremony. The study area for this research is in Ban Huasamrong, Plaeng Yao District, Chachoengsao Province. It was found that :
1. There are two purposes of Khmer spiritual worship ceremony. First is to thank ancestor spirits for their help to protect and take care of their offspring which occur annually. The other purpose is to make a votive offering after a person has fulfilled his or her vows.
2. The component of the ritual still remains as it was done in the past. It consists of a ceremonial day, place to do ceremony, spiritualist, ritual accessories, and the steps of the ritual.
3. The good things about the ceremony are it saves Khmer customs and teaches people to behave properly. People who attend the ceremony can relax from stress. It also cultivates gratitude in children and creates harmony in the community. The bad thing about the ceremony is the person chosen as the medium usually feels ill but usually recovers soon after the ceremony is finished. Apart from that, the expense of the ceremony is quite high for people who are responsible for holding the ceremony.
4. The tendency of Khmer spiritual worship ceremony in the future is expected to decrease.
5. Sixty five Khmer terms used in the rituals to refer to step and accessories were studied. These Khmer terms can be categorized into 5 groups – clothings, ritual accessories, food, people and place. In general, Pronunciation of Khmer words is different from spoken Khmer in Cambodia. Because in local people’s way of life, they speak Thai. So, this influences their Pronunciation.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
1438