ลเบิกอังกอร์วัด : การศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมและภาพสลักเล่าเรื่องที่ปราสาทนครวัด
Other Title:
"Lpoek Angkor Vat" : a comparative study of literature and the bas reliefs at Angkor Wat
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมร้อยกรองเขมรเรื่อง “ลเบิกอังกอร์วัด” กับภาพสลักเล่าเรื่องที่ปราสาทนครวัด เพื่อให้ทราบถึงจินตนาการ และความคิดของกวีผู้ประพันธ์ในการบรรยายภาพสลักเล่าเรื่อง วรรณกรรมเรื่อง “ลเบิกอังกอร์วัด” เป็นวรรณกรรมร้อยกรองเขมรสมัยหลังพระนคร หรือสมัยกลางซึ่งแต่งขึ้นประมาณปีมหาศักราช 1542 หรือ พ.ศ. 2162 ในวรรณกรรมได้กล่าวถึงนิทานเรื่องพระเกตุมาลา, การกำเนิดของนครวัด และภาพสลักที่ปราสาทนครวัด การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ, บทที่ 2 ประวัติ ความเป็นมาของวรรณกรรมและเนื้อเรื่องย่อโดยสังเขป, บทที่ 3 เปรียบเทียบบทประพันธ์วรรณกรรมร้อยกรองเขมรเรื่อง “ลเบิกอังกอร์วัด” กับภาพสลักเล่าเรื่องที่ปราสาทนครวัด, บทที่ 4 ความคิด ความเชื่อของกวี ที่สะท้อนจากจินตนาการในการประพันธ์ วรรณกรรมร้อยกรอง เรื่อง “ลเบิกอังกอร์วัด”, บทที่ 5 บทสรุป
จากการศึกษาเปรียบเทียบบทประพันธ์ที่กวีบรรยายกับภาพสลักเล่าเรื่องที่ระเบียงคดชั้นนอกของปราสาทนครวัดพบว่า กวีพรรณนาภาพสลักบางส่วน โดยเชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่แตกฉานในด้านวรรณคดีและพุทธศาสนา ตามจินตนาการและสุนทรียภาพทางการประพันธ์บทร้อยกรอง
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบความในบทประพันธ์กับความรู้ตามหลักวิชาการแล้ว เห็นความคิด ความเชื่อของกวีที่สะท้อนจากจินตนาการในการประพันธ์ว่า กวีมีความเข้าใจเฉพาะด้าน เช่น เข้าใจว่าภาพสลักสงครามในมหาภาพย์ที่สำคัญสองเรื่อง คือ “มหาภารตะ” และ “รามายณะ” เป็นภาพการรบในเรื่องรามเกียรติ์ทั้งหมด เช่นเดียวกับเรื่อง เทพในศาสนาพราหมณ์, เทพรักษาทิศ และนรกสวรรค์ กวีจินตนาการว่าเป็นเทวดาและนรกสวรรค์ ที่มีอยู่ในไตรภูมิ ซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ในส่วนของภาพสลักพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้สร้างปราสาทนครวัด กวีได้จินตนาการแล้วถ่ายทอดความคิดลงในคำประพันธ์ว่าเป็นภาพพระเกตุมาลา แสดงให้เห็นความเชื่อของกวีที่ไม่ทราบที่มาว่า นครวัดเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงพยายามหาคำตอบด้วยนิทานปรัมปราเรื่อง “พระเกตุมาลา” ที่เล่าสืบต่อกันมาว่า นครวัดเป็นปราสาทที่เนรมิตขึ้นจากเทพชื่อ “พระวิสสุกรรม” มิใช่เกิดจากฝีมือมนุษย์ธรรมดา The purpose of this report is to compare the classical piece of Khmer literature “LPOEK ANGKOR WAT” with the bas-relief carvings at Angkor Wat in order to learn the idea of author via the describing of the bas-reliefs. “LPOEK ANGKOR WAT” is a story written in 1619 during the Middle Khmer period. It’s about Khmer folk tale of “Prahketumala,” along with the origin of Angkor Wat and the ancient temple’s stone carvings.
This research includes 5 chapters. Chapter 1 is an introduction. Chapter 2 provides the background of the literature and a brief synopsis. Chapter 3 indicates the comparative study of the poem “LPOEK ANGKOR WAT” and the carvings on the bas-reliefs at Angkor Wat. Chapter 4 provides an analysis of the poet’s concepts and beliefs as reflected in the poem. And the last chapter is a conclusion.
The result of this study shows that the author connected his imagination with his proficient knowledge of both literature and Buddhism to draw up the verse to describe the carvings along the outer passages of Angkor Wat.
However, it has been found, as indicated by the content of his poems, that the author included his personal opinions in his work. For example, the author concluded that all of the war carvings at Angkor Wat are based on the epic tale “Ramayana,” although these carvings actually illustrate the scenes of two epics, “Maha Bharata” and “Ramayana”. In addition, the author considered the carvings of hell, heaven and angels as characters and scenes that appeared in the Buddhist scripture, although these carvings are actually depictions of Hindu stories. As for the carving of Suriyavarman II, the Khmer king who built Angkor Wat, the author concluded that this depicted “Prahketumala”, a character who, according to the Khmer legend, said that Angkor Wat was built by the God “Wissukam”, and not by a human being. This indicates the author’s belief that he did not know the origin of Angkor Wat, and therefore referred to the folk tale.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
874