THE EFFECT OF INQUIRY LEARNING MANAGEMENT ON CREATIVE THINKING IN MUSIC COMPOSITION FOR NON - PITCH PERCUSSION OF STUDENTS AGED BETWEEN 13 - 15 YEARS
ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการประพันธ์ดนตรีสำหรับเครื่องกระทบที่ไม่มีระดับเสียงแน่นอนของผู้เรียนอายุ 13 – 15 ปี
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
10/7/2020
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objectives of this research were 1) to study the learning outcomes of creative thinking, music skill, and attitude in the experimental group receiving inquiry learning management between pretest and posttest, 2) to study the learning outcomes of the creative thinking, music skill, and attitude old in the controlled group receiving normal learning management between pretest and posttest, and 3) to compare the average scores of the learning outcomes of creative thinking, music skill, and attitude between the experimental group and the controlled group. The participants were 12 percussion students aged 13 - 15 years divided into six students for the experimental group and six students for the controlled group. The research instruments were creative thinking test, music skill test, attitude test, and observation form. T-test dependent, t-test independent and descriptive statistic were used for data analysis.
The results found that 1) after the experimental group received inquiry learning management, the average posttest scores of overall, creative thinking, music skill, and attitude were statistically significant higher than the average pretest scores at .05 level. 2) After the controlled group received normal learning management, the average posttest scores of overall, creative thinking, music skill, and attitude were statistically significant higher than the average pretest scores at .05 level. 3) The average scores of overall, creative thinking, music skill, and attitude of the experimental group were statistically significant higher than those of the controlled group at .05 level. And 4) there were no statistically significant differences between the experimental group and the controlled group in attitude at .05 level. งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ และเจตคติของผู้เรียนอายุ 13 – 15 ปีของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบระหว่างก่อนและหลังการทดลอง 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ และเจตคติของผู้เรียนอายุ 13 – 15 ปีของกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติระหว่างก่อนและหลังการทดลอง และ3) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ และเจตคติของผู้เรียนอายุ 13 – 15 ปี ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยคือผู้เรียนเครื่องกระทบอายุ 13 - 15 ปี จำนวน 12 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 6 คนและกลุ่มควบคุม 6 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบทดสอบทักษะความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ แบบทดสอบด้านเจตคติ และแบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองโดย t-test dependent และ t-test independent นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากการทดลอง ผู้เรียนในกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาพรวม ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ และเจตคติสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .05 2) หลังจากการทดลอง ผู้เรียนในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาพรวม ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบ และเจตคติสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) หลังจากการทดลอง ผู้เรียนในกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านภาพรวม ด้านทักษะความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการปฏิบัติเครื่องกระทบสูงกว่าผู้เรียนในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลสัมฤทธิ์ด้านเจตคติของผู้เรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Type:
Discipline:
สังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
31