ร่องรอยพระพุทธศาสนาในอาณาจักรเขมรโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 17
Other Title:
Buddhism traces in ancient Khmer empire before 12 A.D.
Author:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึงร่องรอยหลักฐานของพระพุทธศาสนาที่เคารพนับถือกันอยู่ในอาณาจักรเขมรโบราณก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 โดยในตอนต้นของงานวิจัยนี้ได้กล่าวถึงความเป็นมาของพุทธศาสนานิกายต่าง ๆ ที่มีการแตกแขนงออกมาจากพุทธศาสนาดั้งเดิมจนกลายเป็นพุทธศาสนาแบบมหายาน และต่อมาก็ได้ศึกษาถึงร่องรอยหลักฐานที่ได้จากเอกสารจีน ศิลาจารึกที่พบในอาณาจักรเขมรโบราณตั้งแต่สมัยก่อนพระนครไปจนถึงสมัยพระนครก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 รวมทั้งศึกษาถึงประติมากรรมรูปเคารพที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาที่ค้นพบในอาณาจักรเขมรโบราณตั้งแต่สมัยก่อนพระนครไปจนถึงสมัยพระนครก่อนพุทธศตวรรษที่ 17
ผลของการวิจัยพบว่าหลักฐานจากเอกสารจีนและศิลาจารึกในอาณาจักรเขมรโบราณในสมัยก่อนพระนคร แสดงให้เห็นว่าน่าจะมีการเคารพนับถือพุทธศาสนาทั้งแบบหีนยานและมหายาน โดยพุทธศาสนาแบบมหายานนั้นจากหลักฐานทางด้านจารึกแสดงให้เห็นว่าน่าจะเป็นมหายานนิกายโยคาจาระ เพราะพบว่ามีการกล่าวถึงคำว่า “วาสนา” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กันมากในพุทธศาสนามหายานนิกายโยคาจาระ ซึ่งต่อมาในสมัยพระนครก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 พุทธศาสนามหายานนิกายโยคาจาระก็ยังคงเป็นที่เคารพนับถือกันอยู่โดยได้ค้นพบร่องรอยหลักฐานจากจารึกแปรรูปในรัชกาลของพระเจ้าราเชนทรวรมัน นอกจากนี้หลักฐานทางจารึกในสมัยพระนครก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 ยังแสดงให้เห็นถึงการเคารพนับถือของพุทธศาสนาแบบหีนยานนิกายสถวิรวาทด้วย ซึ่งข้อสันนิษฐานนี้มาจากการแปลความหมายของคำว่า “สถวิระ” ซึ่งสามารถหมายความถึง “อาจารย์ผู้อาวุโส” หรือ “นิกายสถวิรวาท” ก็ได้
สำหรับในช่วงคาบเกี่ยวก่อนเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 17 จากหลักฐานทางศิลาจารึกสันนิษฐานว่า อาณาจักรเขมรโบราณเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการเคารพนับถือพุทธศาสนาแบบมหายานนิกายโยคาจาระไปเป็นพุทธศาสนานิกายตันตระ-วัชรยาน The purpose of this thesis is to illustrate the Traceable evidences of Buddhism which had been widely respected in the Ancient Khmer Empire before 12th century A.D. The first chapter focuses on the historical background of Buddhism, the schism into different sects until the arising of Mahāyān Buddhism. The next chapter emphasizes on Chinese documents, inscriptions and icons related to Buddhism found in the ancient Khmer Empire from Pre-Angkorian period to Angkorian period (before 12th century A.D.)
The major finding of this thesis is that in the Pre-Angkorian period Buddhism had been accepted by Khmer people as one of the significant religion. Furthermore, it is evident that two important schools of Buddhism, i.e.Hinayān and Mahāyān, had been denoted in the inscriptions as well as in some portions of Chinese chronicles. For the Mahayanist sects, Yogācāra can be traced by word “Vāsanā” which is very often used in many treatises of this sect Later, in the Angkorian period (before 12th century A.D.) it was evidently mentioned in the inscription of King Rajendravarman found at the Pre Rup sanctuary. Both schools of Buddhism, especially Yogācāra sect of Mahāyān, were there even in the Angkorian period before 12th century A.D., but the Hinayān was probably Sthavira sect. This assumption is made from the word “sthavira” which can be construed into “Sthavira sect of Hinayān” or “the elderly monks” as well.
Moreover, it is said in the inscription that during the transition of time from Angkorian period (before 12th century A.D.) to the late Angkorian period (after 12th century A.D.), Khmer people, especially the royal family and royal officers, shifted their faith from Yogācāra Mahāyān to Tantric Buddhism, i.e. Vajrayāna sect and worshiped the Buddhas’ and Bodhisattvas’ icons belonging to Vajrayāna, such as Amitabha, Avalokitesvara, Vajrapāni and so on.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
794