การศึกษาเปรียบเทียบอักษรขอมในคัมภีร์ใบลานที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของประเทศไทย

Other Title:
A comparative study of Khom script in the palm leaves which used in Northeastern and Southern part of Thailand
Author:
Subject:
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบอักษรขอมในคัมภีร์ใบลานที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของประเทศไทย ด้านรูปอักษรและอักขวิธีของอักษรขอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยเลือกศึกษาจาก เรื่องสตราอนิสงค์ผนวส จากจังหวัดสุรินทร์ จารขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477, ในภาคใต้ ผู้วิจัยเลือกศึกษาเรื่องพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร จากจังหวัดนครศรีธรรมราช จารขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2468
สารนิพนธ์ฉบับนี้แบ่งเป็น 5 บท คือ บทที่ 1 บทนำ กล่าวถึงเหตุผลที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเปรียบเทียบอักษรขอมในคัมภีร์ใบลายที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของประเทศไทย และขอบเขตการศึกษา บทที่ 2 อักษรและอักขรวิธีขอมที่พบในคัมภีร์ใบลานเรื่องสตราอนิสงค์ผนวส บทที่ 3 อักษรและอักขรวิธีขอมที่พบในคัมภีร์ใบลานเรื่องพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร บทที่ 4 การเปรียบเทียบอักษรและอักขรวิธีขอมในใบลานเรื่องสตราอนิสงค์ผนวสกับเรื่องพระธรรมจักกัปปวัตนสูตร และบทที่ 5 คือ สรุปและข้อเสนอแนะ
ผลจากการศึกษาพบว่า อักษรขอมในคัมภีร์ใบลานที่ใช้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคใต้ของประเทศไทยมีความเหมือนกันเป็นอย่างมากและความแตกต่างกันเล็กน้อย ส่วนที่เหมือนกันมีสาเหตุมาจากอักษรขอมที่ใช้บันทึกภาษาเขมร และใช้บันทึกภาษาไทยในใบลานมีวิวัฒนาการมาจากอักษรขอมโบราณเหมือนกัน ส่วนที่ต่างกันอาจเป็น เพราะความจำเป็นทางภาษา เช่น ภาษาไทยมีวรรณยุกต์ เป็นต้น แต่ความต่างที่พบนั้นเป็นเพียงรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น This master’s report is a comparative study of Khom script and orthography inscribed on the palm leaves, Satra Anisonka phnous (สตราอนิสงค์ผนวส), written in 1934, found in Surin province in northeastern Thailand and Phradharmmacakkappa vattanasutra (พระธรรมจักกัปปวัตนสูตร), written in 1925, found in Nakornsridharmmarat province, southern part of Thailand.
The master’s report is divided into 5 chapters ; the first chapter deals with the purpose and scope of this master’s report, the second shows the Khom script and orthography of Satra Anisonka phnous, the third deals with the Khom script and orthography of Phradharmmacakkappavattanasutra, the fourth concerns on a comparison of similar and different points of scripts and orthography in both palm leaves and the last chapter is the conclusion and recommendation.
The results of this study are as follows ; the forms of Khom script in the northeastern and southern part of Thailand are mostly similar but a little bit different. The similarities cause that they are evaluated from old Khmer script whereas the influence of Thai language is caused of some differences.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
223