Creative work aimed to enhance value and adding value to local rice. The case was studied from Local Rice Conservation and Development Enterprise, Kammat Subdistrict, Kut Chum District, Yasothon Province.
ผลงานสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมือง กรณีศึกษา วิสาหกิจกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
Author:
Subject:
Date:
4/7/2023
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purposes of this research were to (1) study the context of enhancement at the enterprise through promotion-process analysis, (2) understand marketing and design concepts for the examination of the value-enhancement process, and (3) design a effective process to improve the value to local rice.
This research was mixed-method research. The study was inclusive of literature review on local rice, community enterprise leader interview, and promotional activities participation, to examine communicational message and process. Data was collected through a questionnaire on the demand for local rice, with a sample size of 50, to analyze design guidelines. Subsequently, marketing concepts, packaging, and strategies were also considered to enhance its value through creative process.
Based on the research findings, it was found that the enterprise followed a process of conserving local rice varieties as a group-standard practice, with a mindset of being seed owners. The discovering led to the identification of the best rice varieties in Yasothon; Red Sticky Rice, Little Black Sticky Rice, Yellow Jasmine Rice, and Red Jasmine Rice. Regarding the demand, it revealed difficulties in information access and more interesting and engaging promotional activities. The researcher utilized the results to initiate a significant process for promoting the value-added aspect through the "Yung Yasothon" project. This process included mascot design as a part of packaging design, promotional activities, and interactive events with consumers to raise awareness and appreciation of the value of their rice. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบริบทการส่งเสริมข้าวพื้นเมืองของวิสาหกิจกลุ่มอนุรักษ์ข้าวพื้นเมือง ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร เพื่อวิเคราะห์กระบวนการส่งเสริมข้าวพื้นเมืองของวิสาหกิจ (2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ด้านการส่งเสริมการตลาดและการออกแบบเพื่อวิเคราะห์กระบวนการส่งเสริมคุณค่าและเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมือง (3) ออกแบบกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมือง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิธีการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร บทความเกี่ยวกับข้าวพื้นเมือง สัมภาษณ์ปราชญ์ชาวนาประธานกลุ่มวิสาหกิจ ลงพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมประชาสัมพันธ์เพื่อวิเคราะห์บริบทและกระบวนการส่งเสริมข้าวพื้นเมืองของวิสาหกิจ เก็บข้อมูลแบบสอบถามความต้องการบริโภคข้าวพื้นเมืองของผู้บริโภคในสังคมเมืองจำนวน 50 ตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์แนวทางการออกแบบ จากนั้นศึกษาแนวคิด ทฤษฎีด้านการตลาด บรรจุภัณฑ์และการประชาสัมพันธ์เพื่อออกแบบกระบวนการสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นเมืองแก่วิสาหกิจ
จากผลการวิจัยพบว่า วิสาหกิจมีกระบวนการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองเป็นมาตรฐานของกลุ่มโดยมีอุดมการณ์ร่วมกันคือเป็นเจ้าของเมล็ดพันธุ์ ทำให้ค้นพบพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดในพื้นที่จังหวัดยโสธร ได้แก่ ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวก่ำน้อย ข้าวเจ้าเหลือง และข้าวเจ้ามะลิแดง ด้านความต้องการบริโภคข้าวพื้นเมืองของผู้บริโภคพบว่ามีปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองและต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบกระบวนการส่งเสริมคุณค่าผ่านโครงการยุ้งโสธร โดยออกแบบมาสคอตข้าวพื้นเมืองยโสธรเพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ข้าว การประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมให้สามารถเชื่อมโยงผู้บริโภค เกิดกระบวนการรับรู้และเข้าถึงคุณค่าข้าวพื้นเมืองของวิสาหกิจมากขึ้น
Type:
Discipline:
ศิลปะการออกแบบ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
33