การศึกษากวีนิพนธ์เขมรร่วมสมัยที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ตปี พ.ศ. 2547

Other Title:
A study of contemporary Cambodian poetry on the internet in 2004
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์กวีนิพนธ์ร่วมสมัยที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ต ปี พ.ศ. 2547 ทั้งในด้านวรรณศิลป์และภาพสะท้อนสังคมโดยคัดเลือกกวีนิพนธ์ จำนวน 64 บท จาก 4 เว็บไซต์คือ www.cambodianview.com, www.khmerbusiness.com , www.khmervoice.com,www.khom.us.com.
ผลการวิจัยพบว่า กวีนิพนธ์เขมรร่วมสมัยที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ต ปี พ.ศ. 2547 มีการใช้ฉันทลักษณ์ 3 ประเภทด้วยกันคือ ฉันทลักษณ์โบราณ ฉันทลักษณ์ประเภทกลอน 7-9 ที่รับไปจากไทย และฉันทลักษณ์อื่น ๆ ที่เขมรประดิษฐ์ขึ้น กวีเขมรได้ใช้กลวิธีต่าง ๆ ได้แก่การสร้างอลังการทางเสียง เช่นสัมผัส จังหวะ สรรคำ สัทพจน์ และซ้ำคำ เพื่อสร้างความงามทางวรรณศิลป์
การสร้างอลังการทางความหมาย เช่นการสร้างใช้โวหารจินตภาพ ใช้โวหารภาพพจน์ต่าง ๆ เช่น อุปมา อุปลักษณ์ บุคคลวัต อติพจน์ การอ้างถึง ปฏิพากย์ รวมถึงนามนัย การใช้สัญลักษณ์ และการตั้งชื่อ นวลักษณ์ที่พบในกลวิธีทางวรรณกรรมศิลป์ มีการสร้างนวลักษณ์ในฉันทลักษณ์ และนวลักษณ์โดยการใช้ความเปรียบ และการใช้คำหยาบ
กวีนิพนธ์ได้สะท้อนภาพสังคมเขมรโดยจำแนกเป็น การเมืองการปกครอง กวีสะท้อนภาพความเสื่อมศรัทธาในระบอบราชาธิปไตย และในตัวผู้นำประเทศ ทั้งยังได้กล่าวถึงสัมพันธภาพอันย่ำแย่ระหว่างเขมรและประเทศเพื่อนบ้าน กวีได้ส่องทางว่า คนเขมรควรพัฒนาการปกครองระบอบราชาธิปไตย ควรศึกษาเรื่องสิทธิ หน้าที่พลเมือง และมีสำนึกรักชาติ ด้านเศรษฐกิจ กวีสะท้อนภาพสังคมเขมรซึ่งเป็นสังคมเกษตรกรรม ปัจจัยและปัญหาที่พบจากการประกอบอาชีพ กวีเสนอแนะวิธีแก้ปัญหาความยากจนของคนเขมรว่า คนเขมรควรขยันขันแข็งให้เหมือนกับคนจีน ด้านศิลปวัฒนธรรม กวีได้สะท้อนความเรืองโรจน์ของเขมรในอดีต ความสามารถสร้างสรรค์สร้างหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง อย่างนครวัด กวีหวังให้เขมรทุกคน ช่วยกันหวงแหน รักษาศิลปวัฒนธรรม ให้ดำรงอยู่นานเท่านาน ด้านภาษาและวรรณคดี กวีได้แสดงความภาคภูมิใจที่เขมรมีภาษาประจำชาติ มีกวีและวรรณคดีล้ำค่าของชาติมากมาย แต่ปัจจุบันเขมรประสบปัญหาเยาวชนใหม่ไม่สนใจศึกษาภาษาประจำชาติให้แตกฉาน กลับให้ความสำคัญกับการศึกษาภาษาต่างประเทศมากกว่าภาพสะท้อนด้านความรัก กวีชี้ให้เห็นว่าสังคมเขมรไม่อนุญาตให้ผู้หญิงแสดงความรักอย่างเปิดเผย ผู้หญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว นวลักษณ์ที่พบในแนวคิดสะท้อนภาพสังคมคือ การกล้าวิพากษ์วิจารณ์ชนชั้นปกครอง เช่น กษัตริย์ นายกรัฐมนตรี อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งไม่ปรากฏในวรรณคดีโบราณ ผู้หญิงกล้าแสดงความรักต่อเพศชายมากขึ้น ตลอดจนเครื่องแสดงความรักของหนุ่มสาวซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต This thesis aimed to analyze contemporary Cambodian poetries appeared on the Internet during 2004 in the area of literary aesthetics and their role to portray the society. All sixty-four poetries are studied are selected from four websites : www.cambodianview.com, www.khmerbusiness.com, www.khmervoice.com, and www.khom.us.com
It can be concluded that the contemporary Cambodian poetries appeared on the Internet in 2004 are based on three types of prosodies : (1) itraditional prosody, (2) 7-9 syllables prosody borrowed from Thailand, and (3) other types of prosody invented by Cambodian poets use various artistic devices to create literary aesthetics. These include sound decorations such as rhyme, rhythm, word selection, onomatopoeia, repetition and meaning decorations such as imagery and figure of speech which include simile, metaphor, personification, hyperbole, allusion, paradox, metonymy, symbol, and giving a name to poetry. The innovations that have been found in artistic devices are prosody innovation, simile innovation and innovation of rude words.
The obviosly outstanding social reflection in various different aspects were presented. In the political aspect, poets reflect their losing faith on Monarchy System and country’s leader and show the deteriorate relations between Cambodia and neighboring countries. The poets recommend that Cambodian should develop their Monarchy System, study citizen’s rights and duties, and create the nationalistic feeling. In the economic aspect, poets portray Cambodia as an agricultural society and notify the causes and problems Cambodian face on earning a living. The poets provide the solution for people’s poverty that Cambodian should be more diligent and work hard like Chinese. In the cultural aspect, the poets portray the glorious of Cambodia in the past such as the ability to build Angkor Wat, one of the world’s medieval seven wonders. The poets hope that all Cambodians will protect and preserve their arts and cultures forever. In language and literary aspects, the poets are very proud that Cambodia has her own national language, homes the number of talented poets, and is rich of precious and invaluable literatures. However, nowadays, Cambodia is facing the problem that young generations ignore to study their national language profoundly, in contrary, they pay more interest on foreign languages. For the love issue, the poets show that Cambodian society do not allow women to openly express their love. Women have to be well-mannered and conservative. Innovation found on poetries’ role to portray the society is the poets’ dare to bluntly criticize the leader-class such as king and prime minister. This innovation can not be found in ancient literatures. Moreover, it has been found that women have more courage in expressing their feelings to men and the ways to express love of teenagers have changed from the past.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
614