การวิเคราะห์นวนิยายเขมรเรื่องภาระสุดท้าย

Other Title:
An analysis of the Khmer novel "The Last Mission"
Author:
Date:
2006
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นวนิยายเขมรเรื่อง “ภาระสุดท้าย” ประพันธ์โดย เมา สำณาง
งานวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 5 บท คือ บทนำ กล่าวถึงความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ประโยชน์ที่ได้รับ ขั้นตอนการศึกษา บทที่สอง กล่าวถึงชีวประวัติของผู้แต่ง ผลงานของผู้แต่ง จุดมุ่งหมายในการแต่งนวนิยายเรื่อง “ภาระสุดท้าย” บทที่สามกล่าวถึง เนื้อเรื่องย่อ และการศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ของนวนิยาย บทที่สี่ เป็นการศึกษาภาพสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และการเมืองการปกครองของกัมพูชาจากนวนิยายเรื่อง “ภาระสุดท้าย” บทสุดท้าย เป็นบทสรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยสรุปว่า นวนิยาย “ภาระสุดท้าย” เป็นนวนิยายที่สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่ในการรับผิดชอบทั้งต่อครอบครัวและประเทศชาติ และสะท้อนให้เห็นการใช้ชีวิตของชาวกัมพูชา ในด้านนาฏศิลป์และดนตรี อาหาร แนวทางปฏิบัติของชาวกัมพูชา เป็นต้น และเนื้อหาช่วงที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครองในช่วงเขมรแดง สะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากของชาวกัมพูชา โดยเน้น ให้ผู้อ่านสำนึกบุญคุณของผู้นำชาติที่สามารถ คืนอิสรภาพให้ชาวกัมพูชาได้อยู่อย่างมีความสุข The purpose of this research is to analyze the Khmer novel entitled “THE LAST MISSION” which was written by Mao Samnang.
This research work consists of five chapters, i.e. Introductory chapter deals with the background and importance of the problems, the objective, scope, benefits, process of the study. The second chapter deals with the author’s biography, author’s works and the aims of writing the novel. The third chapter presents the summary of the novel and the analysis of the literary factors. The fourth chapter is to study the Khmer society, culture and political issues which reflect from the novel. The last chapter includes conclusions and recommendations.
The result of this research can be summarized that “THE LAST MISSION” indicates the mission to be responsible to his family and country. The novel also shows Khmer ways of life, namely drama and music, food and ways to behave oneself in Khmer culture. A part of this novel, dealing with the Khmer Rouge period reflects the Khmer people’s hardships, and instills in the readers a sense of gratitude towards the country leaders who provide the Khmer people with the independence and genuine happiness.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
444