DEVELOPING A BLENDED ONLINE TRAINING MODEL TOGETHER WITH CASE STUDY AND COOPERATIVE LEARNING ACTIVITIES, INTRODUCTORY COURSE OF PHTHALMOLOGY TO IMPROVE COGNITIVE SKILLS OF EYE DISEASE FOR PROFESSIONAL NURSES
การพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสาน ร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษาและการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ
Advisor:
Subject:
Date:
4/7/2023
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objectives of this research were: 1) To study the conditions and needs of online training forms integrated with learning activities, case studies and cooperative learning for an introductory ophthalmology course to increase analytical thinking skills for ophthalmology for professional nurses. 2) To develop an online training model with learning activities, case studies and cooperative learning for an introductory course in ophthalmology. 3) To try out an online training with activities, learning from case studies and cooperative learning in an introductory course in ophthalmology 4) To inquire about satisfaction an online training with activities, learning from case studies and cooperative learning in an introductory course in ophthalmology.
This research tools consisted of: 1) A structured interview on the needs of training personnel and course content of the online training system within and outside the hospital. 2) A questionnaire on the condition of training needs of the personnel inside and outside the hospital and the curriculum content of the online training system. 3) A media assessment from of online training forms integrated with learning activities, case studies and cooperative learning for an introductory ophthalmology course to increase analytical thinking skills for ophthalmology for professional nurses.4) A test to measure the training outcomes for professional nurses. 5) An observing behavior Cooperative group activity practice 6) An analytical thinking ability assessment form 7) A quality assessment form and certify the form of online training 8) The satisfaction assessment form , basic stats used in the research were mean (x), standard deviation (S.D.), t-test, IOC concordance index, percentage value, difficulty analysis. The test’s discrimination power (P) and the test’s reliability (R) were analyzed using Kerder-Richardson’s formula-20 (KR-20).
The results of the research revealed that: 1) The result of the study of the condition and the need for a mixed online training format with case study learning activities and cooperative learning through the ophthalmology introductory science course, the assessment results were at a very good level (X =4.82, S.D.= 0.19). 2) The results of the develop , the quality assessment results were at a very good level (X =4.61, S.D.=0.55). 3) Online training participants, scores before training (X =13.54, S.D.=2.10) and score after training (X =26.26, S.D.= 1.38). The test score after training increased statistically significantly at the .05 level. 4) Satisfaction of online participants , had an overall average of very good (X =4.60, S.D.=0.43) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการรูปแบบการอบรมออนไลน์ แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือหลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือหลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 4) เพื่อสอบถามความพึงพอใจรูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษาและการเรียนรู้แบบร่วมมือหลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ด้านสภาพความต้องการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรภายใน และภายนอกโรงพยาบาล และด้านเนื้อหาหลักสูตรของระบบฝึกอบรมออนไลน์ 2) แบบสอบถามสภาพความต้องการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรภายใน และภายนอกโรงพยาบาล และด้านเนื้อหาหลักสูตรของระบบฝึกอบรมออนไลน์ 3) แบบประเมินสื่อ การอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 4) แบบทดสอบวัดผลการฝึกอบรม หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 5) แบบสังเกตพฤติกรรม การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มแบบร่วมมือ 6) แบบประเมินความสามารถการคิดวิเคราะห์ 7) แบบประเมินคุณภาพและรับรองการพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสาน ร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษาและการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้นเพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ 8) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาล ที่มีต่อระบบฝึกอบรมออนไลน์แบบผสมผสาน ร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย (), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที , ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC , ค่าร้อยละ , วิเคราะห์ความยากง่ายของแบบทดสอบ (P) , ค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ (r) , วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (Reliability) ใช้สูตร KR-20 ของคูเดอร์–ริชาร์ดสัน 20
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพและความต้องการรูปแบบการอบรมออนไลน์ แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น ผลการประเมิน มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.82, S.D.= 0.19) 2) ผลการพัฒนารูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือหลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (X = 4.61, S.D.= 0.55) 3) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยรูปแบบการอบรมออนไลน์แบบผสมผสานร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือหลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิเคราะห์โรคทางตา สำหรับพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 50 คน มีคะแนนแบบทดสอบก่อนการอบรม (X = 13.54, S.D.= 2.10) คะแนนแบบทดสอบหลังการอบรม (X = 26.26 , S.D.= 1.38) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนอบรมและหลังอบรม พบว่า คะแนนสอบหลังการอบรม สูงกว่าคะแนนสอบก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อระบบอบรมออนไลน์แบบผสมผสาน ร่วมกับกิจกรรมเรียนรู้แบบกรณีศึกษา และการเรียนรู้แบบร่วมมือ หลักสูตรโรคทางจักษุวิทยาเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก (X = 4.60, S.D.= 0.43)
Type:
Discipline:
เทคโนโลยีการศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Total Download:
31