Factors related to the standard quality of alcohol-based hand sanitization according to the Cosmetics Act B.E. 2558.
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพมาตรฐานของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
25/11/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objective of this research was to investigate the standard quality of alcohol-based hand sanitizers and factors related to the standard quality of alcohol-based hand sanitization according to the Cosmetic Act B.E. 2558. A total of 199 samples of alcohol-based hand sanitizers manufactured in Thailand and distributed in the Bangkok region were gathered. The products were examined using a Gas Chromatograph - Flame Ionization Detector to ascertain the types and levels of alcohol present. Data analysis methods included descriptive statistics and binary logistic regression. The primary findings showed that that clear plastic (66.3%), bottle packaging (73.4%), and gel form (73.4%) were the most common product types. The majority of product labels (72.9%) included a property notice in compliance with the law, and 32.7% of them contained information that was accurate and comprehensive as required by the law. The names of all compounds used as ingredients were the information on the label that was the least exact (18.6%), while the manufacturer's name and address were the most accurate (88.0%). General retail (33.7%) accounted for the majority of the selling locations. The warehouse section had no temperature control (84.5%) and no direct sunshine (86.4%), while the distribution area had a sufficient temperature control (66.8%) and no direct sunlight (76.4%). 90% of manufacturing locations were business entities, 48.2% of which were factory buildings, and 51.3% of which lacked ASEAN Guidelines for Cosmetic Good Manufacturing Practice (GMP) certification. According to the analysis's findings, the product had 75.9% of the type and quantity of alcohol required to meet the quality criteria. Alcohol content ranged from 70 to 80 percent by volume. The alcohol type and quantity in the product were below the required level by 24.1%. The alcohol concentration was in the range of 61-69% by volume. Product characteristics (adjusted OR 2.92, 95% CI: 1.08-7.91), cosmetic registration number (adjusted OR 3.19, 95% CI: 1.29-7.89), and production site characteristics (adjusted OR 3.79, 95% CI: 1.77-8.12) were the statistically significant factors that influenced the standard quality of alcohol-based hand sanitization. In order to strengthen the effectiveness of consumer protection, regulatory bodies including the Food and Drug Administration and Provincial Public Health Office must discover ways to control and oversee alcohol-based hand sanitizers. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพมาตรฐานของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพมาตรฐานของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 โดยเก็บตัวอย่างเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือที่ผลิตในประเทศไทยจากสถานที่ขายในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 199 ตัวอย่าง และตรวจวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของแอลกอฮอล์ด้วยวิธี Gas Chromatograph - Flame Ionization Detector (GC-FID) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกแบบไบนารี่ ผลการศึกษาพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเจล (ร้อยละ 73.4) บรรจุภัณฑ์เป็นแบบขวด (ร้อยละ 73.4) เป็นพลาสติกใส (ร้อยละ 66.3) ฉลากของผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีการแสดงข้อความสรรพคุณเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (ร้อยละ 72.9) โดยแสดงข้อมูลบนฉลากครบถ้วนและถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดมีเพียงร้อยละ 32.7 โดยชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตเป็นข้อความที่แสดงบนฉลากถูกต้องมากที่สุด (ร้อยละ 88.0) และชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมเป็นข้อความที่แสดงบนฉลากไม่ถูกต้องมากที่สุด (ร้อยละ 18.6) สถานที่ขายส่วนใหญ่มีการจำหน่ายในร้านค้าปลีกทั่วไป (ร้อยละ 33.7) บริเวณที่มีการวางจำหน่ายมีการควบคุมอุณหภูมิเหมาะสม (ร้อยละ 66.8) และไม่มีแสงแดดส่องถึง (ร้อยละ 76.4) บริเวณคลังสินค้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ (ร้อยละ 84.5 ) ไม่มีแสงแดดส่องถึง (ร้อยละ 86.4) สถานที่ผลิตส่วนใหญ่ดำเนินธุรกิจเป็นนิติบุคคล (ร้อยละ 90) เป็นอาคารโรงงาน (ร้อยละ 48.2) และไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานวิธีการที่ดีในการผลิตเครื่องสำอาง (ร้อยละ 51.3) ผลการตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีชนิดและปริมาณของแอลกอฮอล์ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน (ร้อยละ 75.9) ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ในช่วงร้อยละ 70-80 โดยปริมาตร และพบไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานร้อยละ 24.1 ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์อยู่ในช่วงร้อยละ 61-69 โดยปริมาตร ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพมาตรฐานของเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รูปแบบลักษณะของผลิตภัณฑ์ (adjusted OR 2.92, 95% CI: 1.08-7.91) เลขที่ใบรับจดแจ้ง (adjusted OR 3.19, 95% CI: 1.29-7.89) และลักษณะของสถานที่ผลิต (adjusted OR 3.79, 95% CI: 1.77-8.12) ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานที่ควบคุมกำกับ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จำเป็นต้องหามาตรการในการควบคุมกำกับดูแลเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพื่อสุขอนามัยสำหรับมือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภค
Type:
Discipline:
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข แผน ก แบบ ก 2
Collections:
Total Download:
53