การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมเขมรเรื่อง "คลื่นซัดทราย" (รลกโบกขฺสาจ่)
Other Title:
An analytical study of the Khmer comtemporary literature : "The Waves" (Rolokbokkhasat)
Date:
1999
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์นวนิยายเขมรเรื่อง “คลื่นซัดทราย” ในด้านองค์ประกอบต่าง ๆ ได้แก่ โครงเรื่องและเหตุการณ์ในเรื่อง แก่นของเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก กลวิธีการประพันธ์ ตลอดจนวิเคราะห์ภาพสะท้อนสังคม วัฒนธรรม และแนวคิดของชาวเขมรที่ปรากฏในเรื่องนี้ ซึ่งอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2540 ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า คลื่นซัดทรายเป็นนวนิยายที่มีโครงเรื่องที่ดี เนื่องจากใช้ความขัดแย้งหรือปมปัญหาที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของตัวละคร ซึ่งประกอบด้วย การเข้าใจผิด เหตุบังเอิญ การใช้เล่ห์เหลี่ยม และมีโครงเรื่องย่อยและตัวละครประกอบมากมาย ประกอบกับการใช้กลวิธีการดำเนินเรื่องคล้ายกับการเขียนบทละครโทรทัศน์ ที่มีการเปลี่ยนฉากบ่อยและรวดเร็ว และการสร้างความสงสัยใคร่รู้เรื่องต่อไป จึงทำให้ตรึงความสนใจผู้อ่านได้ดี นอกจากนี้ยังทราบถึง การประกอบอาชีพของชาวชนบทที่อำเภอเกียนสวาย, กรุงพนมเปญ และจังหวัดโพธิ์สัต ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ การแต่งกาย ชีวิตความเป็นอยู่ของคนชนบทและคนในเมือง การศึกษา การแพทย์สมัยใหม่ และการรักษาแบบโบราณ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ค่านิยมและความเชื่อต่าง ๆ ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน เป็นทั้งอาหารอารมณ์ และเป็นอาหารสมองประเทืองปัญญา ได้ข้อคิด และคติชีวิตซึ่งสามารถยกระดับแนวคิดและจิตใจของผู้อ่าน อีกทั้งยังได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เป็นนวนิยายที่มีคุณค่าต่อสังคมของชาวเขมรอย่างยิ่ง นับว่านวนิยายเรื่องคลื่นซัดทรายนี้เหมาะสมแล้วที่ได้รับรางวัลที่หนึ่งพานรางวัล “พระสีหนุราช” ปี 2540 ซึ่ง เมา สำณางได้พิสูจน์ความเป็นนักเขียนมืออาชีพอย่างแท้จริงเพียงคนเดียว ในเขมรยุคปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี The purpose of this research is to analyzed a Khmer novel entitled “The Waves” (Rolokbokkhasat) regarding several factors, i.c., structure, theme, characters, dialogues, scene, techniques of the composition. The reflection of society, culture and ideas of the Khmer people appearing in this novel between 1957-1977 is also analyzed in this research work.
The result of this research can be noted that the novel contains a good structure due to the conflicts and problems that affect the way of life of the characters such as misunderstanding, coincidences and tricks are mainly used in the novel. Besides, there are many sub-polts and minor characters in the story. The use of new technique influenced by similarly television, scenes of which are always changed rapidly, inspires the readers to follow up their reading until the end.
The novel also shows the picture of professions of the villagers at Guianswai, Phnom Penh, and Posat including their culture and custom, dressing, education, modern medical treatment and old time medical treatment, new technology, social value and beliefs.
All of these things give pleasure to the readers with emotional and intellectual angles. Through the story, the readers can gian the point of view, moral precepts leading to elevate their idea and spirits. Therefore, this novel is suitable to win the King Sihanouk Award in 1997. Evidently, it makes Mrs.Mao somnang to be an only one professional writer of the present Cambodia.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (เขมรศึกษา))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2542 Thesis (M.A.--Silpakorn University, 1999)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาเขมรศึกษา
Collections:
Total Download:
328