Procedure of task-evaluating preparation using Key Performance Indicators (KPIs) of Civil Aviation Training Center: Flight Training Center
แนวทางการสร้างความพร้อมการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ของ ศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1/7/2022
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
Key Performance Indicators (KPIs) were usually seen as a potential evaluation of many organizations to rate the performance of personnel. This study was aiming for three objectives involving KPIs used as Civil Aviation Training Center (CATC): first, to study levels of perception, knowledge & understanding, and factors supporting personnel preparation by using KPIs to evaluate their performance; second, to study the readiness of using KPIs management system to evaluate personnel’s performance; third, to study the preparation procedure of using KPIs in practice. There are three methods to conduct this research: qualitative, quantitative, and mixed-method. Data were collected by in-depth interviewing method from purposive samples, which were key informants, and using a questionnaire. The samples, determined by Yamane’s method, were 81 officers including the executive from CATC: Flight Training Center.
The results showed that the perception level of personnel towards utilizing KPIs evaluating system was high (with a score of 3.58.) The personnel’s knowledge & understanding level towards the evaluating system was high (with a score of 3.62.) The level of overall factors from the organization to support the readiness of utilizing KPIs evaluating system was medium (with a score of 3.32.) The results of readiness to use the KPIs management system showed that the executive of CATC had a good level of knowledge & understanding. They also had a good attitude towards using the system to evaluate the personnel’s performance. The results of the preparation procedure of using KPIs reflected that the organization had to firstly improve its supporting factors (e.g. evaluation documents, internal public relations.) Furthermore, it had to improve the officer’s perception as well as knowledge & understanding of the system respectively. All things considered, the organization should provide training courses to enhance knowledge & understanding of overall KPIs, method of indication, scoring by KPIs, and documents to all ranks of officers. Additionally, planning to use the system to evaluate the officers would help them be well ready for the system. นางสาวเฟื่องลดา กลิ่นถือศีล : แนวทางการสร้างความพร้อมการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒิชัย อารักษ์โพชฌงค์
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมด้านการดำเนินการ ของพนักงานต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) 2) ศึกษาความพร้อมในการบริหารระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) 3) ศึกษาแนวทางการสร้างความพร้อมการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ผู้วิจัยใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ และการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีของยามาเน่ จำนวน 81 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารและพนักงานของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน
จากการศึกษาพบว่า พนักงานมีระดับการรับรู้ต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3.58) พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ ต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ภาพรวมอยู่ในระดับมีความรู้ ความเข้าใจในระดับมาก (3.62) และองค์การมีปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมด้านการดำเนินการระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ภาพรวมมีปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมในระดับปานกลาง (3.32) ความพร้อมในการบริหารระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) พบว่า ผู้บริหารมีความรู้ ความเข้าใจ พร้อมทั้งมีทัศนคติที่ดีต่อการบริหารระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดตัวชี้วัด ทั้งนี้มีประเด็นสำหรับการพัฒนาในประเด็นด้านความรู้ความเข้าใจของพนักงาน และประเด็นด้านการประชาสัมพันธ์ เรื่องการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ที่ขาดความต่อเนื่อง แนวทางการสร้างความพร้อมในการใช้ระบบการประเมินการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) พบว่า องค์การต้องดำเนินการปรับปรุงด้านปัจจัยที่สนับสนุนความพร้อมด้านการดำเนินการระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ประเด็นด้านการรับรู้ของพนักงานต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) และประเด็นด้านความรู้ ความเข้าใจ ของพนักงานต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยการกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPIs) ตามลำดับ ทั้งนี้ องค์การควรจัดเตรียมการอบรมเพิ่มความรู้ ความเข้าใจด้านตัวชี้วัด วิธีการกำหนดตัวชี้วัด เกณฑ์การประเมิน และแบบฟอร์มการประเมิน ให้แก่พนักงานทุกระดับ และวางแผนการใช้ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการสร้างปัจจัยเพื่อให้พนักงานเตรียมพร้อมต่อระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานโดยกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) ต่อไป
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การจัดการภาครัฐและภาคเอกชน แผน ก แบบ ก 2
คอลเล็คชัน:
- วิทยานิพนธ์ [494]
จำนวนดาวน์โหลด:
20