พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อการก่อรูปของงานสถาปัตยกรรมแบบรักชาติ ในรัชสมัย (พ.ศ.2453-2468)

Other Title:
King Rama VI's concept in the founding of "patriotic architecture" style in his reign (a.d.1910-1925)
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษางานสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ระหว่างปีพ.ศ.2453-2468 ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงแนวทางพระราชดำริของพระองค์อันมีรากฐานจากตะวันตกและได้ส่งผลต่อรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบ “รักชาติ” ทั้งทางด้านรูปธรรมและนามธรรม รวมถึงศึกษาถึงผลสัมฤทธิ์ของทั้งแนวพระราชดำริและการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม
การศึกษาในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม คือ การศึกษาและวิเคราะห์ถึงพระราชดำริ และพระราชนิยมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453-2468) ภายใต้แนวคิด “รักชาติ” ที่ได้ผ่านการรับรู้ทางประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จากข้อมูลทั้งที่เป็นหลักฐานทางด้านเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ร่วมกับการสำรวจภาคสนาม คือ งานสถาปัตยกรรมในรัชสมัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดนี้ จากนั้นจึงเปรียบเทียบ วิเคราะห์เพื่อหาความสัมพันธ์และอิทธิพลของแนวคิด “รักชาติ” ต่อรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่เป็นกรณีศึกษาดังกล่าว
ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดชาตินิยมที่ทรงได้รับมาจากเป็นตะวันตกเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ส่งผลต่อทั้งแนวทางพระราชดำริและการเกิดขึ้นของรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบรักชาติ ส่วนปัจจัยอื่นๆ เป็นเพียงผลกระทบสืบเนื่องต่อมาเท่านั้น และงานสถาปัตยกรรมแบบรักชาติที่เกิดขึ้นในรัชสมัย ได้สะท้อนให้เห็นถึงพระราชดำริ “ รักชาติ” และพระราชนิยมของรัชกาลที่ 6 สอดแทรกอยู่อย่างชัดเจน โดยเห็นได้ถึงความพยายามของพระองค์ในการที่จะแก้ไขปัญหาทางสังคมด้านต่างๆที่เกิดขึ้น ผ่านการแสดงให้ให้กลุ่มบุคคลต่าง ๆ เห็นว่ารูปแบบงานศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นสิ่งที่แสดงถึง “ความศิวิไลซ์” ของชาติไทยที่มีมาแต่สมัยอดีต นอกจากนี้เมื่อพิจารณาร่วมกันกับปัจจัยอื่นๆ เช่น การที่ทรงเป็นนักชาตินิยมในแบบอนุรักษ์นิยม การที่ทรงต้องการจะเผยแพร่ศิลปะในสมัยอดีตให้มาปรากฏในสมัยพระองค์มากที่สุด และการที่ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสุโขทัย ฯลฯ ก็ล้วนเป็นส่วนร่วมสำคัญที่ก่อให้เกิดรูปแบบงานสถาปัตยกรรมแบบรักชาติขึ้นอย่างไรก็ตามแม้ว่าสถาปัตยกรรมทั้งแบบรักชาตินี้จะเป็นการผสมผสานระหว่างแนวคิดแบบวัฒนธรรมตะวันตกร่วมกับศิลปสถาปัตยกรรมทั้งแบบตะวันตกและแบบพื้นเมืองของไทยเองแต่ก็ได้แสดงลักษณะเฉพาะที่เป็นพระราชนิยมในรัชกาลที่ 6 ซึ่งกล่าวได้ว่าปรากฏอย่างชัดเจนเพียงสมัยเดียวและมีความแตกต่างจากสมัยก่อนหน้า รวมถึงยังมีความแตกต่างจากรูปแบบงานสถาปัตยกรรมไทยแบบอื่นๆ อีกด้วยอาคารแบบ “ รักชาติ” จึงมีคุณค่าทั้งทางสุนทรียภาพและประวัติศาสตร์ในฐานะมรดกทางศิลปสถาปัตยกรรมที่ได้ถ่ายทอดแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 6 อันเป็นนามธรรมที่ปรากฏออกมาอย่างเป็นรูปธรรมได้อย่างเด่นชัด This thesis is a study of the patriotic architecture built during King Rama VI’s reign (1910-1925 AD) in order to understand King Rama VI’s concept that indoctrinated from the Western belief, affecting the “patriotic architecture” style on both the concrete and abstract. Included is also a study of the accomplishment of all Royal thought and the architectural creation of that period.
This study is based on a historical architecture research methodology. It aims to study and analyze the royal patriotic ideas and tastes of King Rama VI (2453-2468) that founding the “patriotic architecture” style. The study focuses on historical, economic, social and political conditions of the period through evidence appeared in primary and secondary documents as well as physical survey of arts and architecture concern the topic. An evaluation on the King’s idea influenced on the architecture is finally made.
The study shows that the European nationalist’s idea adopted by the King is the most important factor which affected both the initiative and the emergence of the Patriotic Style. Other factors involved are only the consequences. The patriotic architecture that happened during his reign shows his “patriotic” concept of thought and style clearly. The king’s effort to resolve the social problems occurred during his reign is to use Thai architecture as a promotion of the country’s ancient and civilized status. Furthermore after considering other factors, such as his conservative nationalist idea, his favour in antiquities and his interests in the historical and archaeological evidence of Thailand, especially of the Sukhothai era etc, it reveals many important sources that from the patterns of the case studies. These building are eclectic creations derived both from western culture and the local Thai, the architecture shows the uniqueness of King Rama VI’s royal style, which appears only in his reign and is different from the previous reign’s style. It also differs from other styles of Thai architecture. So, a building with a patriotic architectural style express significant values both aesthetically and historically of Thai’s architectural heritages. It obviously transmits an idea of the royal beliefs of King Rama VI in the form of a concrete object.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
516