การกำกับศิลป์ในภาพยนตร์ของเวส แอนเดอร์สัน

Other Title:
Art Direction In Wes Anderson’s Film
Author:
Subject:
Date:
2021
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่อง การกำกับศิลป์ในภาพยนตร์ของเวส แอนเดอร์สัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำกับศิลป์และการสื่อความหมายของภาพยนตร์ โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและรูปภาพ เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์ผลงานภาพยนตร์ 3 เรื่อง ได้แก่ The Royal Tenenbaums, Moonrise Kingdom, The Grand Budapest Hotel เวส แอนเดอร์สัน ถือเป็นผู้กำกับที่มีความเป็นศิลปินและเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่น งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การศึกษาการกำกับศิลป์ในเรื่องทางด้านภาพ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในเรื่องของความงามและเป็นเครื่องมือทางภาษาในการเล่าเรื่องราวที่นอกเหนือจาก ดนตรีประกอบ และการแสดง ให้เห็นถึงรูปแบบเทคนิค ในการสร้างความงามและความสัมพันธ์ในการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องไปกับเนื้อเรื่อง โดยจากการศึกษาพบว่าภาพยนตร์ของเวส แอนเดอร์สันมีรูปแบบและเทคนิคดังต่อไปนี้ หลักการใช้สี ซึ่งมีการใช้สีเพื่อแสดงสีสัน และบ่งบอกความรู้สึกทั้งทางความหมายโดยตรงและโดยอ้อมผ่านฉากและเครื่องแต่งกาย การจัดองค์ประกอบ มักมีการจัดการให้สอดคล้องไปทั้งภาพโดยใช้ดุลยภาพ รูปทรง สี ขนาด ทำให้เกิดเรื่องราวในหนึ่งภาพได้ นอกจากนี้มุมกล้องก็ช่วยเพิ่มความเป็นมิติแก่ตัวละครนั้นๆ รวมถึงการเคลื่องกล้องที่มักใช้ซ้ำๆ เช่น การแพน การทิลท์ ซึ่งบอกเล่าทิศทาง การดำเนินเรื่องต่อไปได้ดี และสุดท้ายในการใช้กราฟฟิกให้ข้อมูล ทำให้เนื้อเรื่องเข้าใจง่ายขึ้น ดังนั้นรูปแบบและเทคนิคต่างๆในภาพยนตร์ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบความรู้ทางศิลปะอย่างชัดเจน และที่สำคัญยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้ภาพยนตร์ของเวส แอนเดอร์สันมีความเป็นเอกลักษณ์และรูปแบบอย่างชัดเจน
Type:
Degree Name:
ปริญญาศิลปบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
96