องค์ประกอบศิลป์ในแอนิเมชัน Darling in the FranXX

Other Title:
Composition of Art in Darling in the FranXX
Author:
Advisor:
Date:
2021
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ศิลปนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แอนิเมชัน Darling in the Franxx โดยใช้ทฤษฎีภาพยนตร์แนวรูปแบบนิยมและทฤษฎีองค์ประกอบศิลป์ มาวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงการนำทั้ง 2 ทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในแอนิเมชัน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำวิจัยเชิงคุณภาพจาการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารและรูปภาพ นำมาวิเคราะห์เชิงพรรณประกอบภาพซึ่งผลการศึกษาพบว่า แอนิเมชันเรื่อง Darling in the Franxx ที่ผลิตขึ้นโดยสตูดิโอ A1-Pictures และสตูดิโอ Trigger แนวทางหรือเทคนิคของทั้ง 2 สตูดิโอนั้นมีดังต่อไปนี้ มุมกล้องมีการนำสี แสง และเงา เข้าผสมผสานกับมุมกล้องเพื่อช่วยเพิ่มมิติของมุมมองนั้นๆ ลักษณะความลึกในแอนิเมชันมีการนำเอาเส้นในทัศนธาตุเข้ามาช่วยทำให้เกิดความลึกหรือทำให้ดูตื้นมากขึ้น เพราะเส้นนั้นสามารถควบคุมได้ไม่ว่าจะเป็นเส้นหนาทึบหรือเส้นบาง เส้นยังมีความสัมพันธ์ในการใช้ระนาบบอกระยะซึ่งเป็นการทับซ้อนกันของเส้น เมื่อความลึกมีทัศนธาตุทั้ง 2 อย่างเข้ามาอยู่รวมกันจึงทำให้เกิดความลึก การจัดแสงเป็นวิธีการเพื่อเน้นอารมณ์ของตัวละครนั้นๆ โทนสีจึงมีความสำคัญในการทำให้การจัดแสงนั้นมีความโดนเด่น เพราะโทนสีสามารถถ่ายทอดความรู้สึกออกมาได้เช่น สีโทนร้อนแสดงถึงความรุนแรง ความโกรธ ส่วนสีโทนเย็นอย่างสีเขียวแสดงถึงความสงบ ผ่อนคลาย ขอบเขตและระยะทางคือการจัดองค์ประกอบของภาพลงในกรอบสีเหลี่ยมผืนผ้า ดังนั้นองค์ประกอบศิลป์ในทัศนธาตุทั้งหมดจึงมีความสำคัญที่จะมาช่วยทำให้เกิดรูปทรงและเรื่องราวในกรอบสี่เหลี่ยมนี้ จากการศึกษาในงานวิจัยชิ้นนี้ได้พบคำตอบว่าองค์ประกอบศิลป์และทฤษฎีภาพยนตร์แนวรูปแบบนิยมได้กลายเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้แอนิเมชัน Darling in the Franxx ถ่ายทอดออกมาได้อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
Type:
Degree Name:
ปริญญาศิลปบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชาทฤษฎีศิลป์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
74