หลักเมือง หลักบ้าน "เสา พุทธ พราหมณ์ ผี"
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2009
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ความเชื่อในเรื่องเสา ดูจะเป็นพื้นฐานความคิดของคนทั่วไปในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งความเชื่อในเรื่องผีเอง ก็เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มคนต่าง ๆ สิ่งที่น่าสนใจคือ การสร้างเสากลางหมู่บ้านของคนพื้นถิ่น มีความสัมพันธ์อย่างไรกับเสาหลักเมืองในปัจจุบัน ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อแรกสร้างเมือง และความสัมพันธ์ของเสาหลักเมืองกับระบบศาสนาที่เข้ามา มีบทบาทต่อสังคมขนาดใหญ่
จากการศึกษาทำให้สามารถทราบสรุปผลได้ว่า เสาหลักเมืองในปัจจุบันมีที่จากความเชื่อพื้นถิ่นในเรื่องผี ที่มักสร้างเสากลางหมู่บ้านขึ้น ก่อนการลงหลักตั้งถิ่นฐาน จนกระทั่งเมื่อสังคมมีความซับซ้อน และขยายขนาดประกอบกับความรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์และพุทธ ย่อมทำให้ความเชื่อในเรื่องเสากลางบ้านเดิม พัฒนาความสำคัญขึ้นในระดับรัฐ โดยเสาหลักเมืองเปรียบประหนึ่งเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาลตามคติศาสนา และเป็นเสาศักดิ์สิทธิ์อันที่อยู่ของผี ผู้ปกป้องรักษาเมืองหรือที่เรียกว่าเจ้าพ่อหลักเมือง ซึ่งเป็นผีที่ถูกยกระดับจากผีเจ้าที่ ตามความเชื่อเดิมของคนในชุมชนพื้นถิ่น สะท้อนให้เห็นรากฐานความเชื่อเดิมที่มีอยู่ในท้องที่ ผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนา อีกทั้งเสาหลักเมือง ได้กลายเป็นตัวแทนหนึ่งทางพุทธศาสนา ที่ใช้ควบคุมอำนาจทางการเมืองในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เสาหลักเมืองคือ ตัวแทนที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า ความเชื่อในเรื่องผี ศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ได้หยั่งรากลึกลงในจิตใจของคนในชาติและไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย
Description:
สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ)) -- มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2552
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ)
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
519