โครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมการจําหน่ายข้าวแช่ ชาววังจังหวัดเพชรบุรีสําหรับนักท่องเที่ยว

Other Title:
PRODUCT DESIGN PROJECT FOR SUPPORTING KAO-CHAE SELLING PHETCHABURIFOR TOURISM
Author:
Advisor:
Date:
2020
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ข้าวแช่ชาววังของจังหวัดเพชรบุรี มีประวัติความเป็นมามาช้านาน เป็นที่รู้จักในนามเครื่องเคียงรสหวานที่ส่งกลิ่นหอม จากการเคี่ยวน้ำตาลโตนดที่เป็นพืชทางเศรฐกิจของเพชรบุรี ทำให้ข้าวแช่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอดีต แต่ในปัจจุบันเนื่องด้วยภาพลักษณ์ของข้าวแช่ชาววังที่บ่งบอกไม่ได้ว่าเป็นของหวานหรือคาว หรือรูปลักษณ์ที่โบราณ และวิธีการรับประทานที่มีขั้นตอนรายระเอียดมากมาย จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ และเกิดความเข้าใจในข้าวแช่ที่ผิดเพี้ยนไป จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการออกแบบนี้ จากการศึกษา จึงได้แนวทางการออกแบบ 4 แนวทางหลัก คือ 1.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สัมผัสกับอาหาร 2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก(ตัวร่วมหน่วย) 3.การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 4.การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ที่สื่อความหมายถึงจังหวัดเพชบุรี โดยผลงานการออกแบบ ในส่วนที่ 1.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นในที่สัมผัสกับอาหาร 1.1 ของแห้ง ได้แก่ ข้าว ลูกกะปิทอด ไชโป้วผัดหวาน ปลากระเบนผัดหวาน พริกหยวกยัดไส้ หมูฝอย หัวหอมทอด มีการใช้วัสดุที่เป็นพลาสติก PP ในการผลิตเพราะเป็นวัสดุที่ทนต่อความร้อน และความเย็น ออกแบบให้มีรูปทรงที่แข็งแรง สะดวกต่อการขนส่ง 1.2 ของเหลว ได้แก่ น้ำอบดอกไม้ ใช้วัสดุที่เป็นแก้ว ที่สะดวกต่อการฆ่าเชื้อ สะดวกต่อการขนส่ง 2.การออกแบบบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก(ตัวร่วมหน่วย) ออกแบบให้มาการปรับรูปแบบเป็นถาดหรือโต๊ะที่สามารถรับประทานได้ 3.การออกแบบบรรจุภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการรับรู้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) 3.1 รูป ออกแบบรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ให้สื่อถึงความเป็นเพชรบุรี 3.2 รส ออกแบบให้มีการกินโดนรสไม่เปลี่ยน 3.3 กลิ่น มีการออกแบบที่ใส่น้ำมันหอมระเหยและน้ำกระดาษที่ส่งกลิ่นหอมมาใช้ในงาน 3.4 เสียง กระทบของภาชนะในงาน 3.5 สัมผัส ออกแบบลูกเล่นการพับกระดาษให้เป็นดอกไม้ 4.การออกแบบลวดลายบนบรรจุภัณฑ์ที่สื่อความหมายถึงจังหวัดเพชบุรี ได้มีการตั้งชื่อสินค้า ว่า “ชมกลิ่น” ที่สื่อถึงความงามของกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ข้าวแช่ชาววังของจังหวัดเพชรบุรี มีการน้ำลวดลายของเพชรบุรีมาไว้บนบรรจุภัณฑ์ และลวดลายบนเครื่องเคียงต่าง ๆ อาทิ กะปิ หัวหอม ปลากระเบน เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นโครงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ส่งเสริมการจาหน่ายข้าวแช่ชาววังจังหวัดเพชรบุรี ที่สะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์ของเพชรบุรี และปรับเปลี่ยนรูปแบบการรับประทานให้มีความสะดวกต่อคนสมัยใหม่มากขึ้น
Type:
Degree Name:
ศิลปบัณฑิต (การออกแบบผลิตภัณฑ์)
Discipline:
ภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
110