รูปแบบหัวโขนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน สกุลช่างครูชิต แก้วดวงใหญ่
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
หัวโขนเป็นงานประณีตศิลป์ ที่รวบรวมฝีมือของช่างสิบหมู่ไว้อย่างครบถ้วน ผู้ที่จะสร้าง สร้างสรรค์งานขึ้นมาได้ จึงไม่เพียงต้องมีความสามารถในเชิงช่างต่าง ๆ อย่างครบถ้วน หากแต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักสุนทรียศาสตร์ และองค์ประกอบของหัวโขนที่ถูกต้องตามหลักแบบแผน การสืบทอดวิธีการทำหัวโขนสมัยโบราณ จึงถือเปนการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไทยที่สำคัญอย่างยิ่ง
การประดิษฐ์หัวโขนในสกุลช่างครูชิต แก้วดวงใหญ่ นั้นได้รับการสืบทอดกันมาถึง 3 ชั่วอายุคน ด้วยกลวิธีจากกรมช่างสิบหมู่ในราชสำนัก ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 ดังนั้นฝีมือและความประณีตในการสร้างงาน จึงแตกต่างจากสกุลช่างอื่น ๆ จนได้รับการยอมรับในฝีมือ ทั้งในระดับชนชั้นสูง รวมถึงประชาชนทั่วไป หัวโขนสกุลช่างครูชิต มักได้รับความนิยมในการนำไปใช้ในงานแสดงมหรสรรพ จัดแสดงเคารพบูชา และเก็บสะสม ผู้คนต่างแสวงหาฝีมือของครูชิต รวมถึงทายาทมาเป็นสมบัติของตน ทั้งไว้เพื่อการใช้งาน และเพื่อคุณค่าทางจิตใจ แม้ครูชิตจะจากไปแล้ว แต่ผลงานของท่านยังคงอยู่ โดยการสืบทอดจากทายาท และผู้ที่ชื่นชอบในผลงานของท่านจวบจนถึงปัจจุบัน
Description:
สารนิพนธ์ (ศศ.บ. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ศิลปะ)
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
921