การศึกษาการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง Over The Top (OTT)
Other Title:
The study of Thai film distribution on Over The Top (OTT) platform
Author:
Subject:
Date:
2022
Abstract:
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดจำหน่ายและการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทย 2) เพื่อศึกษาการดำเนินการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) ในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยและมีการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT จาก 3 กลุ่ม ได้แก่ ก) กลุ่มของบริษัทหรือกลุ่มบุคคลที่ดำเนินการผลิตเนื้อหาภาพยนตร์ไทย ข) กลุ่มของบริษัทผู้ให้บริการ OTT ที่มีเนื้อหาภาพยนตร์ไทยเผยแพร่อยู่ในแพลตฟอร์ม ค) ภาครัฐผู้มีหน้าที่ในการกำกับดูแลช่องทาง OTT ผลการวิจัยพบว่า จากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสถานการณ์โควิด19 ทำให้ความนิยมในการชมเนื้อหาต่างๆ ในช่องทาง OTT มีมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการ OTT แข่งขันด้านราคาและต้องสรรหาเนื้อหาที่หลากหลายมาสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีความหลากหลายเช่นกัน ส่งผลให้ภาพยนตร์ไทยถูกนำเสนอในช่องทาง OTT มากขึ้น การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ในช่องทางต่างๆ เรียกว่า "window" โดยปกติมีโรงภาพยนตร์คือ first window การจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยเพื่อเผยแพร่ในช่องทาง OTT มีการดำเนินการในรูปแบบ exclusive คือการเผยแพร่ในผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ที่ได้สิทธิเพียงเจ้าเดียว และ non-exclusive คือสามารถไปเผยแพร่ในแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการ OTT อื่นได้ ซึ่งระยะเวลาในการให้สิทธิเพื่อเผยแพร่และการกำหนดราคาใช้วิธีตกลงเจรจา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดเลือกภาพยนตร์ ได้แก่ คุณภาพของภาพยนตร์ในด้านการผลิต และความสอดคล้องกับนโยบาย และกลุ่มเป้าหมายของแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ OTT การผลิตภาพยนตร์ไทยเพื่อเผยแพร่เฉพาะในช่องทาง OTT มีทั้งในลักษณะผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ให้ทุนในการผลิต หรือพิจารณาจากผลงานที่ผลิตเสร็จสิ้นแล้วก่อนตัดสินใจรับซื้อ เรียกว่า original content การกำหนดแนวทางจัดจำหน่ายเพื่อนำไปเผยแพร่ในลักษณะใดขึ้นอยู่กับ 1) จุดยืนของผู้ผลิตภาพยนตร์ว่าต้องการให้ภาพยนตร์ของตนไปพบกับผู้ชมในรูปแบบใด 2) ความลงตัวของการเจรจาต่อรองด้านราคา ส่วนแนวโน้มของ "เนื้อหาภาพยนตร์ไทย" ที่จะได้รับความสนใจนำเสนอในช่องทาง OTT เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากการผลิตภาพยนตร์ต้องใช้เวลาดำเนินการ 1-2 ปี การวิเคราะห์จากระบบคลังข้อมูลเพื่อไปคาดการณ์แนวทางเนื้อหาอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) ระเบียบ กฎหมาย ที่ส่งผลต่อการผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT และ 2) การส่งเสริมสนับสนุนภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT จากภาครัฐ สรุปสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยเพื่อเผยแพร่ในช่องทาง OTT ดังนี้ 1) เกิดการจัดจำหน่ายเพื่อเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในช่องทาง OTT เป็น window สำคัญต่อจากการฉายในโรงภาพยนตร์ หรือภาพยนตร์บางเรื่องถุกฉายใน OTT เป็น first window 2) ภาพยนตร์ไทยได้รับทุนผลิตจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม OTT ทำให้ผู้ให้บริการ OTT บางรายกลายเป็นสตูดิโอภาพยนตร์ โดยก้าวข้ามกระบวนการจัดจำหน่ายไปที่ขั้นตอนการเผยแพร่ และยังสามารถนำภาพยนตร์ที่เป็นเจ้าของสิทธิ์ไปจัดจำหน่ายสู่พื้นที่หรือ window อื่นได้ในอนาคต 3) เกิดโอกาสของผู้ผลิตภาพยนตร์ไทยในการมีช่องทางเผยแพร่ภาพยนตร์เพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่ภาพยนตร์เคยผ่านการจัดจำหน่ายใน window อื่นมาแล้วและภาพยนตร์ที่ผลิตใหม่ 4) การสนับสนุนจากภาครัฐทั้งในด้านกฎระเบียบและด้านการส่งเสริมต้องให้สอดคล้องและเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลง หากเป็นไปอย่างไม่เข้าใจ เช่น ควบคุมหรือตรวจสอบ จะทำให้เกิดปัญหาใหม่
Type:
Award:
ผลงานโดดเด่น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปีการศึกษา 2565
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
40
View/ Open
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
จากนวนิยายสู่ภาพยนตร์ จากภาพยนตร์สู่นวนิยาย : กรณีศึกษาภาพยนตร์เรื่อง "หมานคร" และ "ฟ้าทะลายโจร"
Collection: Theses (Master's degree) - Art Theory / วิทยานิพนธ์ - ทฤษฎีศิลป์Type: Thesisศิว์วิช หงษ์จินดาเกศ; Sivich Hongjindakes (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2013)ภาพยนตร์เรื่อง “ฟ้าทะลายโจร” (Tears of the Black Tiger) (พ.ศ.2543) และ “หมานคร” (Citizen Dog) (พ.ศ.2547) เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นในช่วงหลังยุควิกฤตทางเศรษฐกิจปี พ.ศ.2540 และมีรูปแบบ เนื้อหา การนำเสนอที่ชัดเจนและแปลกไปกว ... -
การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นล้อเลียนเกี่ยวกับตัวละครเอกที่พยายาม แก้ไขโลกภาพยนตร์เพื่อสนองความต้องการของผู้ชมมากจนเกินไป เรื่อง “The Screen”
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Communication Arts / จุลนิพนธ์ - นิเทศศาสตร์Type: Thesisนราวิชญ์ แซ่จิว (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2020)จุลนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอรูปแบบของภาพยนตร์และสื่อสังคมในยุค ปัจจุบันที่มีการผสมผสานกัน และพฤติกรรมการชมภาพยนตร์ของผู้ชมในปัจจุบัน ผ่านการสร้างเป็น บทภาพยนตร์ล้อเลียน ซึ่งผู้จัดทําได้พยายามศึกษาเพิ่มเติม ... -
การสร้างสรรค์ภาพยนตร์สั้นเกี่ยวกับชายหนุ่มที่หลุดเข้าไปในโลก ภาพยนตร์ เรื่อง “บะหมี่เกี๊ยว”
Collection: Theses (Bachelor's degree) - Communication Arts / จุลนิพนธ์ - นิเทศศาสตร์Type: Thesisนิญาดา เกียรติเกื้อกูล (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2020)จุลนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนําเสนอ โดยผู้จัดทําได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับปัญหา ครอบครัว และผลต่อการใช้ความรุนแรงในครอบครอบและนํามาด้วยผลกระทบด้านจิตใจต่าง ประกอบกับทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการสร้างภาพยนตร์ เพื่อนํามาใช ...