การศึกษาตึกแถวบริเวณย่านการค้าเก่าในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกของคาบสมุทรภาคใต้ ประเทศไทย
Other Title:
The study on shop-houses of the old commercial districts of Eastern seaports on Thailand's Southern peninsula
Author:
Subject:
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- สงขลา -- วิจัย
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- ปัตตานี -- วิจัย
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- นครศรีธรรมราช -- วิจัย
ชาวจีน -- ไทย (ภาคใต้) -- วิจัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- วิทยานิพนธ์
ตึกแถว -- ไทย (ภาคใต้) -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
สถาปัตยกรรม -- ไทย (ภาคใต้) -- อิทธิพลจีน -- วิจัย
ตึกแถว -- ปัตตานี -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
ตึกแถว -- สงขลา -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
ตึกแถว -- นครศรีธรรมราช -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- ปัตตานี -- วิจัย
สถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย -- นครศรีธรรมราช -- วิจัย
ชาวจีน -- ไทย (ภาคใต้) -- วิจัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม -- วิทยานิพนธ์
ตึกแถว -- ไทย (ภาคใต้) -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
สถาปัตยกรรม -- ไทย (ภาคใต้) -- อิทธิพลจีน -- วิจัย
ตึกแถว -- ปัตตานี -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
ตึกแถว -- สงขลา -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
ตึกแถว -- นครศรีธรรมราช -- การออกแบบและการสร้าง -- วิจัย
Date:
2004
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เข้าใจถึงมูลเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดสถาปัตยกรรมตึกแถว และพัฒนาการของรูปแบบในแต่ละย่านการค้าเก่าของชุมชนในเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออก โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาด้านพื้นที่บริเวณถนนอาเนาะรูและถนนปัตตานีภิรมย์ จังหวัดปัตตานี บริเวณถนนนครในและถนนนครนอก จังหวัดสงขลาและบริเวณถนนราชดำเนิน จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการศึกษาได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมเป็นหลัก โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินและวิเคราะห์ลักษณะสถาปัตยกรรมประกอบกับการใช้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นตัวสนับสนุน
จากการศึกษาพบว่าการก่อรูปสถาปัตยกรรมตึกแถวในแต่ละย่านการค้า ล้วนเกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยสำคัญจากลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเอื้อต่อการเป็นเมืองท่าทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ทางการค้ากับต่างชาติ รวมถึงการอพยพเข้ามาของชาวจีน ปัจจัยทั้ง 2 ประการนำพาให้เกิดการแลกเปลี่ยนผสมผสานของกลุ่มชนต่างวัฒนธรรมทั้งไทย จีนและตะวันตก โดยมีเงื่อนไขทางการค้าเป็นตัวแปรหลักและมีกลุ่มชาวจีนอพยพเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ วัฒนธรรม พาณิชยกรรมตามแบบแผนของชาวจีนปรากฏชัดในทุกพื้นที่ เกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมเพื่อสนองรับกิจกรรมและประโยชน์ใช้สอยทางการค้าโดยเฉพาะ ซึ่งแผนผังของอาคารแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ เรือนส่วนหน้า สำหรับค้าขายและเก็บสินค้า ส่วนพื้นที่เปิดโล่ง (Courtyard) และส่วนเรือนพักอาศัยโดยรูปแบบของอาคารในยุคแรกเป็นแบบจีนดั้งเดิม แบบจีนผสมพื้นถิ่นภาคใต้และแบบจีนผสมตะวันตก จากพัฒนาการดังกล่าวเห็นชัดว่าตัวสถาปัตยกรรมเองไม่สามารถเปลี่ยนแปลรูปแบบได้แต่วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของผู้คนแต่ละยุคสมัยที่เป็นตัวเร่งให้สถาปัตยกรรมตอบสนองต่อกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ความแตกต่างทางเศรษฐกิจ สังคมและระบบการค้ามีผลให้อาคารในแต่ละย่านการค้าเกิดลักษณะที่ต่างกันทั้งแผนผัง ขนาดรูปแบบและโครงสร้างอาคาร แม้จะมีพื้นฐานตามคติแบบจีนและมีพัฒนาการของรูปแบบเป็นไปในทิศทางเดียวกันก็ตาม
ตึกแถวจึงมิได้เป็นเพียงสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเจริญในอดีตเท่านั้นแต่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของสังคมและวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตของผู้คนในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี ด้วยคุณค่าและความสำคัญดังกล่าว จึงควรร่วมกันหาแนวทางและกำหนดกรอบในการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอาคารเก่าที่มีประวัติศาสตร์และมีชีวิตคงอยู่ไปพร้อมกับผู้คนและชุมชน และสิ่งสำคัญเพื่อให้อาคารเป็นเสมือนตัวแทนหรือร่องรอยทางประวัติศาสตร์ให้ชนรุ่นต่อไปได้ศึกษาและสามารถค้นหารากเง้าที่มาของประวัติศาสตร์ได้ This thesis purposed to study the architectural background and development of shop houses in the old commercial districts of eastern seaports. The scope of the study focuses on : Anoarou and Pattanipirom road in Pattani Province, Nakornnai and Nakornnok road in SongKhla Province, Rajadumnern road in Nakorn Si Thammarat Province. The process of the research, mainly through history of architectural methodology, the obtained documentary information and site surveying data, together with historical data, were assessed and analyzed their architectural characteristic.
According to the research, essential factors of architectural forms of shop houses in these areas had derived from unique geographical locations appropriated as trading ports with foreigners and also the transmigration of the Chinese population. These factors led to transformation and blending of various cultures among the Thai, Chinese and Europian. With these commercial conditions and Chinese immigrant as significant variableness, Traditional culture of Chinese order are apparent all the ports. Forming of shop houses, specifically designed for trading, According to the study the plans of shop houses can be categorized into 3 parts as follow : The frontage for trading and storage, courtyard as a open space in the middle and the backside for living. Building style ranges from the old traditional chinese style, Chinese – thai vernacular style and chinese – europian style. These style development were based on changing of human lifestyle and culture of each period. Although, difference of economy, social and traditional order were essential factors of the architectural characteristic such as plan, size ,style and structure, eventhough they were based on the same background of the Chinese culture.
These shop houses not only reflected history of civilization of the seaports but also the social and cultural relationship with the people of each period. With their value and importance, there should be guideline and scope of conservation and development of the area to exist with present population. To keep these buildings as representative of their historic identity to be studies and finding out the roots for future generation.
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
494
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
จิตวิญญาณดั้งเดิมกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่
Collection: Theses (Master's degree) - Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมType: Thesisเอกอนันต์ จันทร์เอี่ยม; Eakanan Janeiam (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004)แนวคิดเรื่องพื้นที่ มีมาตั้งแต่ในสมัยเริ่มต้น ของความเป็นสังคม พื้นที่แต่ละพื้นที่ย่อมมีจิตวิญญาณของกตัวเอง และสามารถที่จะสะท้อนความหมายออกมาให้ได้รับถึงความเป็นถิ่นที่ และความเป็นสังคมนั้นๆได้ เมื่อเวลาผ่านไปพื้นที่พื้นที่หนึ่ง ... -
ตึกแถว ผลผลิตทางกายภาพและวัฒนธรรมในชุมชนเมืองเก่า จังหวัดสงขลา
Collection: Theses (Master's degree) - Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมType: Thesisสุภาวดี เชื้อพราหมณ์; Supawadee Chuapram (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิวัฒนาการและสาระด้านสถาปัตยกรรมของตึกแถวในชุมชนเมืองเก่า จังหวัดสงขลา อันมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย และมีความสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ความสนใจอยู่ที่เนื้อหาในตัวสถาปัตยกรรม ... -
สำนึกในถิ่นที่ : กรณีศึกษาการออกแบบตึกแถวเมืองพระนครศรีอยุธยา
Collection: Theses (Master's degree) - Architecture / วิทยานิพนธ์ - สถาปัตยกรรมType: Thesisศศิธร คล้ายชม; Sasithorn Klaichom (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2003)การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาความหมาย ทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับ สำนึกในถิ่นที่ ( Sense of place ) เพื่อศึกษากรณีตัวอยางการถายทอดจิตวิญญาณของถิ่นที่ลงสูงานออกแบบสถาปตยกรรม เพื่อศึกษาตึกแถวเกาในเม ...