วัดพระพายหลวง : แนวความคิดใหม่จากผลการขุดตรวจทางโบราณคดีกับงานวิเคราะห์แบบอย่างสถาปัตยกรรม
Other Title:
Wat Pra Phailung : a new concept from archaeological and architectural-style analyses
Advisor:
Subject:
Date:
2008
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปะ กำหนดอายุ และหาความสัมพันธ์ของสิ่งก่อสร้างของวัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย โดยใช้หลักฐานจากการขุดตรวจทางโบราณคดีภายในวัดพระพายหลวง และการขุดตรวจพื้นที่คันดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่อยู่นอกวัดถัดออกไปทางทิศตะวันออก
ผลสรุปของการวิจัยมีดังต่อไปนี้
1. ปราสาทแบบขอมสามหลัง เป็นสิ่งก่อสร้างที่สร้างขึ้นพร้อมกับการทำคูน้ำล้อมรอบวัด และการก่อคันดินเป็นพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อเก็บกักน้ำภายใต้อิทธิพลวัฒนธรรมเขมร ในช่วงครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา โดยรูปแบบฐานไพทีปราสาทไม่ปรากฎระเบียบของฐานบัวลูกฟักดังปราสาทเขมรระยะเดียวกัน
2. ศิลาแลงด้านหน้าปราสาท อาจสร้างขึ้นคราวเดียวกับการสร้างปราสาทสามหลัง และเดิมคงมีเครื่องบนโครงสร้างไม้มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ และมีกระเบื้องหน้าอุดรูปกลีบบัว
3. รูปแบบปราสาทวัดพระพายหลวง แสดงพัฒนาการจากปราสาทสมัยบายน แต่แสดงให้เห็นการปรับปรุงให้เข้ากับรสนิยมของช่างไทย เช่นเดียวกับการทำคันดินกักเก็บน้ำทางด้านทิดศตะวันออก ภายนอกวัดที่ต่างกับรูปแบบบารายในศาสนสถานแบบขอมโดยทั่วไป The objects of this research are to study the style, dating and the relation of architecture constructed of Wat Pra Phailuang, Sukhothai province by using the employment of the archaeological methods both internal and external area of Wat Pra Phailuang.
The result of this research are as follow:
1. The 3 Prasadas, the surrounding moat and earthen rampart which is built under the Khmer cultural have been built at the same period. Three are no lotus-like base with strip band on basement of Prasada like the Khmer Prasadas in the same period. The wood structure covered with tile and lotus motif decorated antefix were probably decorated on the 3 Prasadas.
2. The congregation and the 3 Prasadas might have been constructed at the same time. The wood structure covered with tile and lotus motif decorated antefix were probably decorated on the 3 Prasadas.
3. The style of Prasadas of Wat Pra Phailuang represents the development from Prasada in Boyon period. But they are constructed and adapted to Thai handicraftsmen taste. As same as the dyke which is built on the west of Wat Pra Phailuang differs from general Baray that is built in Khmer sanctuary.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์ศิลปะ))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551.
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Spatial Coverage:
วัดพระพายหลวง (สุโขทัย)
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
641