การเกษียณคือการเดินทาง มิใช่ปลายทาง : วิกฤตวัยเกษียณและการปรับตัวของผู้เกษียณอายุ

Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2022
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่อง"การเกษียณคือการเดินทาง มิใช่ปลายทาง" : วิกฤวัยเกษียณและการปรับตัวของผู้เกษียณอายุ มี
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการเกษียณอายุในมิติเศรษฐกิจ มิติอารมณ์และสังคม 2) ศึกษาภาวะวิกฤต
ของผู้เกษียณอายุซึ่งเป็นผลจากปัจจัยที่มาจากบริบทรอบด้านของผู้ที่เกษียณอายุ และ 3) ศึกษาการปรับตัวที่หลากหลายของผู้ที่เกษียณอายุอันเกิดจากปัจจัยที่มาจากบริบทต่างๆ จากข้อมูลพบว่าการเกิดวิกฤวัยเกษียณ มีปัจจัยที่มาจากบริบทรอบด้านของผู้ที่เกษียณอายุ ได้แก่ ภูมิหลัง เศรษฐกิจ อัตมโนทัศน์บุคคลเป็นตัวแปรที่จะก่อให้เกิดวิกฤตหรือไม่ก่อให้เกิดวิกฤตการศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางมานุษยวิทยา เน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งสิ้นจำนวน 8 คน และผู้ให้ข้อมูลใกล้ชิดกับผู้เกษียณอายุ จำนวน 2 คน อธิบายโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย (Sister Callista Roy's Adaptation theory), ทฤษฎีของแพค (Robert peck's Development Theory และทฤษฎีทางจิตวิทยาสังคม โดยมีทฤษฎีย่อยคือ ทฤษฎีกิจกรรม (Activity Theory) และทฤษฎีต่อเนื่อง (Continuity Theory) ผลการศึกษาพบ 7 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1 จุดเริ่มต้นของการเกษียณในโลกมีเหตุผลจากการเมือง ไม่ใช่จากปัญหา
ความเสื่อมถอยของร่างกายมนุษย์ 2 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้เกษียณตาม 6 ช่วงระยะเวลาหลังเกษียณ 3) วิกฤตที่เกิดจาก
การเกษียณอายุซึ่งเป็น "สิ่งเร้าตรง" ตามทฤษฎีของ Callista Roy โดยมีประเด็นย่อย ได้แก่ ต้นทุนชีวิต : เริ่มจากครอบครัว,สุขภาพความเสื่อมถอยที่ใกล้ตัว, บ้านและที่อยู่อาศัยยามชรา มีค่าในเวลาที่ต้องการ, - วิกฤตที่ไม่รู้ตัว: ผู้เกษียณที่ไม่ทราบว่าตนเองสร้างวิกฤตให้คนใกล้ชิด และความเป็นปัจเจกสร้างวิกฤตที่แตกต่างกันไป 1) การปรับตัวของผู้เกษียณเมื่อเผชิญกับชีวิตหลังเกษียณ ประเด็นย่อย คือ การแสดงออกตามแบบของการปรับตัว5 ผลกระทบที่เกิดจากการเกษียณอายุในมิติทางสังคม วัฒนธรรม และอารมณ์ ประเด็นย่อย ได้แก่ มิติทางสังคม, มิติทางวัฒนธรรม และมิติทางอารมณ์ 6) รัฐบาลกับประชาชนวัยหลังเกษียณอายุ และ 7) วิกฤตวัยเกษียณ : ความคล้ายคลึงที่แตกต่าง และความแตกต่างที่ยังมีความคล้ายกัน อนึ่งข้อค้นพบประการสุดท้ายจากการศึกษานี้ พบว่าผู้เกษียณอายุส่วนใหญ่ขาดการเตรียมความพร้อม ที่จะใช้
ชีวิตในวัยหลังเกษียณ ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการวางแผน ทั้งในมิติการเงิน และมิติสุขภาพ ชีวิตหลังเกษียณจึงเหมือนเป็นการต้องเดินทางต่อไป มิใช่ปลายแห่งความสุข ที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างราบรื่นและสุขสบาย และลาจากโลกนี้ไปอย่างสงบ
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
48