หลังคลื่น: การเป็นไต้ก๋งเรือประมงพื้นบ้านเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี

Author:
Advisor:
Date:
2022
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาเรื่องหลังคลื่น: การเป็นไต้ก๋งเรือประมงพื้นบ้านเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการชุมชนประมงเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาการเป็นไต้ก๋งและ
การสะสมทุนทางวัฒนธรรมที่นำมาสู่การขยายทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางสัญลักษณ์
โดยศึกษาผ่านแนวคิดฮาบิทัส ทุน และแวดวงของปิแอร์ บูดิร์เยอ และแนวคิดมานุษยวิทยาว่าด้วย
การเดินเรือ (Maritime Anthropology)การศึกษานี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) โดยมีข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยใช้วิธีสุ่ม
แบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอ้างอิงบุคคลหรือผู้เชี่ยวชาญ
(Snowball Sampling โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสิ้น 13 คน แบ่งออกเป็นทั้งหมด 2
กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพไต้ก๋งบนเรือประมงพื้นบ้าน จำนวน 8 คน กลุ่มที่ 2 คือ
กลุ่มผู้นำชุมชนและชาวบ้านบนเกาะสีชัง จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่สามารถให้ข้อมูล
สนับสนุนเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของชุมชนต่อมาคือข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาคันคว้าเอกสาร งาน
วิชาการและบทความเกี่ยวกับประมงพื้นบ้าน ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการชุมชนประมงของเกาะสีชังในช่วงก่อนพ.ศ. 2506 เป็นการทำประมงแบบยังชีพโดยการใช้เรือโล้และเรือแจ้ว และนำเอาทรัพยากรที่หามาได้ไปใช้การแลกอาหารทะเลกับข้าวสารแทนการใช้เงิน ต่อมาเมื่อมีเครื่องยนต์ติดเรือชาวประมงเริ่มเปลี่ยนมาทำเรืออวนล้อม
ปลากระตักขายโรงงานน้ำปลา จนเข้าสู่พ.ศ. 2517 เกาะสีชังเริ่มทำเรือไดหมึก และไปหาทรัพยากร
ไกลได้มากขึ้น เป็นยุคที่การทำประมงของเกาะสีชังเฟื่องฟูทั้งทรัพยากรและจำนวนชาวประมง ควบคู่
ไปกับการเข้ามาของเทคโนโลยีต่างๆ ที่ทำให้ชาวประมงหาสัตว์น้ำได้ในปริมาณที่มากขึ้น จนถึงยุคที่
การทำประมงเริ่มถดถอยประมาณพ.ศ. 2540 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศและทรัพยากรลดลง
ทำให้ชาวประมงมีจำนวนลดน้อยลง เปลี่ยนอาชีพมากขึ้น ประกอบกับกฎหมายประมงฉบับ
พ.ศ. 2558 ที่ทำให้ไต๋เรือประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบ และจากการศึกษายังพบว่าผู้ที่จะเป็นไต๋ได้
นั้นต้องได้รับจากการหล่อหลอมมาตั้งแต่ในวัยเยาว์ทั้งจากครอบครัว และจากการเป็นแรงงาน ซึ่งจะ
ทำให้ไต๋ได้มีทักษะ ความเชี่ยวชาญประสบการณ์ในการออกทะเลเป็นฮาบิทัสซึ่งเป็นส่วนของทุน
วัฒนธรรม ประกอบกับการสะสมทุนทางเศรษฐกิจ เพื่อนำเอาเงินมาซื้อเรือให้ตนเองนั้นเป็นไต๋เรือ
แทนการไปเป็นลูกน้องบนเรือประมง และจะนำไปสู่การขยายทุนทางสัญลักษณ์จากการถูกเรียกว่าไต๋
นำหน้าชื่อ คนเป็นไต๋ก็จะถูกได้รับการยกย่องและให้ความเคารพจากลูกน้องและคนอื่นๆ และ
ก่อให้เกิดทุนทางสังคมของไต๋เพื่อช่วงชิงทรัพยากรหรือเอื้อผลประโยชน์ให้แก่กัน ทั้งนี้การเป็นไต๋ยังได้
แปรเปลี่ยนเป็นทุนทางเศรษฐกิจที่ได้เพิ่มมากขึ้น และเกิดขึ้นภายในแวดวง (Field) ที่ทำให้เกิดการ
สะสมฮาบิทัสไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บนเรือ และบริเวณหัวสะพานที่เป็นจุดรวมตัวของไต๋ รวมไปถึง
การแลกเปลี่ยนทุนแต่ละประเภทระหว่างกัน
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
36