ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ กับกระบวนการกลายเป็นวัตถุมงคลในยุคโลกาภิวัตน์: กรณีศึกษา วัด เจดีย์ ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
2022
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ กับกระบวนการกลายเป็นวัตถุมงคลในยุคโลกาภิวัตน์: กรณีศึกษา วัดเจดีย์
ตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ศึกษาใช้แนวคิดกระบวนการกลายเป็นสินค้า
(Commoditization) แนวคิดโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความเป็นมา
และการทำความเชื่อไอ้ไข่วัดเจดีย์ให้เป็นวัตถุมงคล 2)เพื่อศึกษาสาเหตุการบริโภควัตถุมงคลไอ้ไข่วัด
เจดีย์ และ 3)เพื่อศึกษาสาเหตุการรวมกลุ่มของผู้ผลิตและผู้บริโภควัตถุมงคลไอ้ไข่วัดเจดีย์ ในกลุ่มเฟ
ซบุ๊กในยุคโลกาภิวัตน์ ในการศึกษาครั้งนี้จะมีการสัมภาษณ์แบบออนไลน์ 10 คน โดยแบ่งออกเป็นผู้
กระจายสินค้า 1 คน พ่อค้าคนกลาง 4 คน และผู้บริโภค 5 คน โดยพ่อค้าคนกลางมีเกณฑ์คือจะต้อง
เป็นสมาชิกของกลุ่มไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ (ด้วยศรัทธาอันแท้จริง) และได้ทำการโพสต์ขายวัตถุมงคลไอ้ไข่
เด็กวัดเจดีย์มากกว่า 5 โพสต์ในกลุ่มไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ (ด้วยศรัทธาอันแท้จริง) ส่วนผู้บริโภคมีเกณฑ์คือ
ต้องเคยเช่าวัตถุมงคลผ่านกลุ่มเฟซบุ๊กไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ (ด้วยศรัทธาอันแท้จริง) ซึ่งจะต้องเป็นสมาชิก
ของกลุ่มนี้ และมีวัตถุมงคลไอ้ไข่มากกว่า 5 ชิ้น และในส่วนของพื้นที่กายภาพมีการสัมภาษณ์ 9 คน
เป็นผู้บริโภค 5 คน โดยมีเกณฑ์คือจะต้องเป็นคนที่ลงพื้นที่มาที่วัดเจดีย์ และมีวัตถุมงคลไอ้ไข่มากกว่า
5 ชิ้น โดยเป็นผู้ผลิตฝั่งพระสงฆ์ 1 รูปจะทำการสัมภาษณ์ที่วัดเจดีย์ผู้ผลิตฝั่งฆราวาส 2 คนจะทำการ
สัมภาษณ์ที่บ้านของผู้ปลุกเสก และพนักงานร้านศูนย์เช่าวัตถุมงคลไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์1 คนจะทำการ
สัมภาษณ์ภายในร้านที่อยู่รอบนอกวัดเจดีย์
ผลการศึกษาพบว่า 1)ศึกษาความเป็นมาและการทำความเชื่อไอ้ไข่วัดเจดีย์ให้เป็นวัตถุมงคล
พบว่าการกลายเป็นวัตถุมงคลไอ้ไข่เกิดขึ้นจากท่านแว่นที่เป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์ เพื่อนำรายได้ในการ
ปล่อยเช่าวัตถุมงคลมาพัฒนาเสนาสนะของวัด 2) เพื่อศึกษาสาเหตุการบริโภควัตถุมงคลไอ้ไข่วัดเจดีย์
พบว่าสาเหตุที่ผู้บริโภควัตถุมงคลเนื่องมาจากเช่าบูชาวัตถุมงคลไอ้ไข่แล้วได้สมปรารถนา ทั้งเรื่อง
ค้าขาย โชคลาภ หน้าที่การงาน จึงทำให้เช่าบูชาวัตถุมงคลไอ้ไข่ และ 3)เพื่อศึกษาสาเหตุการรวมกลุ่ม
ของผู้ผลิตและผู้บริโภควัตถุมงคลไอ้ไข่วัดเจดีย์ ในกลุ่มเฟซบุ๊กในยุคโลกาภิวัตน์ พบว่า การรวมกลุ่ม ของผู้ผลิตที่เป็นผู้กระจายสินค้า ผู้ปล่อยเช่าวัตถุมงคล และผู้บริโภควัตถุมงคลเพราะเป็นพื้นที่
อินเทอร์เน็ตที่สะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไอ้ไข่ และง่ายต่อการเช่าวัตถุมงคลไอ้ไข่
ผ่านกลุ่ม โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่ต้องลงพื้นที่ที่วัดเจดีย์เพื่อเช่าบูชา
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
Discipline:
ภาควิชามานุษยวิทยา
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
122