การเสื่อมสภาพของศิลปกรรม

Author:
Date:
2023
Publisher:
วิทยสถานสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (ธัชชา)
Description:
วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้สร้างสรรค์ศิลปกรรมรวมทั้งวัสดุที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วัสดุบางอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแด่ระยะแรก ๆ หลังการผลิตหรือหลังการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงอาจเกิดจากสาเหตุภายในที่เกิดจากตัววัสดุเองและจากสาเหตุภายนอก โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ร่วมกับการเปลี่ยนเปลงทางเคมีเป็นส่วนใหญ่ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจทำให้ศิลปกรรมส่วนหนึ่งมีลักษณธทางกายภาพและทางเคมีแตกต่างไปจากเดิม การเปลี่ยนแปลงบางอย่างสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโมเลกุลซึ่งอาจมองไม่เห็น แต่สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่แม่นยำและทันสมัย การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดจากปฏิกิริยาที่ซับซ้อนหลาย ๆ ปฏิกิริยาเกิดขึ้นร่วมกัน จนบางครั้งไม่สามารถบ่งชี้ได้แน่ชัดว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปฏิกิริยาใด หากศิลปกรรมทำจากวัสดุหลายชนิดอยู่ร่วมกันหรือใกล้ชิดกัน ปฏิกิริยาจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกมากมายที่ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด การเปลี่ยนแปลงที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้ศิลปกรรมมีตำหนิ ไม่สวยงามเหมือนเดิม มีคุณค่าหรือมูลค่าลดลง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ ถูกบดบังหรือสูญหายไป บางส่วนอาจชำรุด สึกหรอ สึกกร่อน มีสภาพอ่อนแอลง บางส่วนถูกทำลายสูญหายไป หรือเปลี่ยนสภาพอย่างสิ้นเชิง บางครั้งไม่สามารถใช้งานได้เหมือนเดิม ฯลฯ นักอนุรักษ์เรียกการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ว่า การเสื่อมสภาพ หรือ deterioration และเรียกสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพว่า causes of deterioration หรือ causes of damage (COD) เพราะฉะนั้น เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักอนุรักษ์ที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกระบวนการที่ทำให้ศิลปกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นขั้นตอนแรก ก่อนที่จะดำเนินการอนุรักษ์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ตันเหตุ หรือชะลออัตราการเปลี่ยนแปลงให้ช้าลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผู้เขียนสนใจศึกษาคันคว้า วิเคราะห์ และวิจัยเกี่ยวกับสาเหตุและกระบวนการเสื่อมสภาพของวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมและวัตถุทางวัฒนธรรมมาตลอดชีวิตการทำงาน รวมเวลาประมาณ 50 ปี จึงรวบรวมข้อมูลส่วนหนึ่งมาย่อ เรียบเรียง และสรุปในระดับที่ไม่ยากจนเกินไป เพื่อเผยแพรให้เป็นพื้นฐานเบื้องตันสำหรับผู้ที่สนใจงานด้านอนุรักษ์สมบัติวัฒนธรรมได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจและพิจรณาเลือกใช้วัสดุและวิธีการอนุรักษ์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เป็นไปตามหลักการอนุรักษ์ในระดับสากล และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษาคันคว้าวิจัยเพิ่มเดิมให้สมบูรณ์ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป
Type:
Is part of:
หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการนุรักษ์เชิงป้องกันผลงานศิลปกรรม : การจัดเก็บและการควบคุมสภาพแวดล้อมจากบริบทของปัญหางานศิลปกรรมที่พบในไทย ภายใต้แผนงานพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติตามโครงการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาบุคลากรการวิจัยด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ได้รับทุนอุดหนุนการทำกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมจากสำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565
Rights Holder:
จิราภรณ์ อรัณยะนาค
Jiraporn Aranyanak
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
Jiraporn Aranyanak
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
Total Download:
65