พระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 22-24
Other Title:
The Nakhon Si Thammarat Buddha Image School between the 17th -19th century A.D. /
Author:
Advisor:
Date:
2012
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบศิลปของพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราช ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-24 ด้วยวิธีการจำแนกรูปแบบและศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะ และข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูป ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า พระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราช มีรูแปบบศิลปะที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองนครศรีธรรมราช โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองนครศรีธรรมราชกับกรุงศรีอยุธยา ในระหว่างช่วงพุทธศตวรรษที่ 22-23 และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 245 ซึ่งสามารถจำแนกกลุ่มพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ดังนี้
1. พระพุทธรูปที่อัญเชิญจากกรุงศรีอยุธยามายังเมืองนครศรีธรรมราช(อายุราวกลางพุทธศตวรรษที่ 21 – พุทธศตวรรษที่ 22) พระพุทธรูปในกลุ่มนี้ มีรูปแบบที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนกลาง อันได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสามาธิเพชร พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย และพระพุทธรูปปางประทานอภัยด้วยพระหัตถ์ขวาและทั้งสองพระหัตถ์
2. พระพุทธรูปที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะอยุธยา (อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 24) พระพุทธรูปในกลุ่มนี้ยังคงมีพื้นฐานด้านรูปแบบศิลปะจากศิลปะอยุธยา แต่มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดการประดับตกแต่งบางประการ อาทิ ลวดลายที่ใช้ประดับ ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของสกุลช่างนครศรีธรรมราชอันได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย
3. พระพุทธรูปทรงเครื่องแบบท้องถิ่น (อายุราวปลายพุทธศตวรรษที่ 23-ปลายพุทธศตวรรษที่ 24) พระพุทธรูปในกลุ่มนี้ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสกุลช่างนครศรีธรรมราชอย่างแท้จริง โดยมีความหลากหลายด้านรูปแบบศิลปะ โดยมากมักแสดงปางอุ้มบาตร ซึ่งมีความสัมพันธ์กับประเพณีท้องถิ่น คือ ประเพณีชักพระ (ลากพระ) ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมาถึงปัจจุบัน The thesis purpose is to study art of historical analysis on the Nakhon si Thammarat Buddha image school between 18th – 19th A.D. The methods of study include classification of Buddha image typology, comparison study of Buddha image, observation influences on the image and chronology of Buddha image dating based on history of Nakhon si Thammarat.
The result of this study shows that the Nakhon si Thammarat Buddha image school of art related to history of Nakhon si Thammarat which represents obvious relationship between Nakhon si Thammarat and Ayuttaya in 18th – 19th A.D.
In this study, characteristic of Buddha image be divided into 3 groups depend on period:
1. The Buddha image moved from Ayuttaya (mid 17th-18th A.D.). This characteristic is related to the Buddha image in middle period of Ayuttaya such as Buddha Subdueing Mara sitting cross legs, Buddha Royal Attire, Buddha Abhaya Mudra with right hand and Buddha Abhaya Mudra with both hands.
2. The Buddha image influenced by Ayuttaya art (late 18th-19th). This group of Buddha image was adapted from Ayuttaya art by changing details and some aspectual decorations into specific style such as Buddha Subdueing Mara sitting cross legs and Buddha Royal Attire.
3. The traditional Buddha image (late 19th-late 20th A.D.). This group of Buddha image is showed traditional style of Nakhon si Thammarat art. Mostly found as Buddha image hold the aim-bowl or in Thai called Pang Um Baatr which related to local tradition, Chak-Pra, the meaningful tradition in Southern of Thailand.
Description:
มหาวิทยาลัยศิลปากร. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ -- วิทยานิพนธ์
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
Temporal Coverage:
พุทธศตวรรษที่ 22-24
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
710