การศึกษาพัฒนาการการออกแบบสถาปัตยกรรมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ชื่อเรื่องอื่น:
A Study of the architectural design's development at Wat Phra Sri Rattana Sadsadaram
ผู้แต่ง:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1998
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การศึกษาพัฒนาการการออกแบบสถาปัตยกรรมของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีความมุ่งหมายที่จะแสดงให้เห็นถึง แนวความคิดในการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงตลอดจนกลายเป็นการพัฒนาทางสถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุต่าง ๆ ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นับตั้งแต่เมื่อครั้งแรกสถาปนาพระอารามหลวง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งรับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ทั้งทางด้านแนวความคิด และ รูปแบบศิลปสถาปัตยกรรมการก่อสร้างพระอารามหลวง ประจำพระบรมมหาราชวังสืบเนื่องและปรับเปลี่ยนทางแนวความคิด ค่านิยม ทัศนคติของแต่ละช่วงรัชสมัยจนถึงปัจจุบัน ที่มีทั้งแนวความคิดและทัศนคติ ที่ยึดถือแบบอย่างประเพณีดั้งเดิมไว้ และปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง หรือแตกต่างไปจากแนวความคิดเดิม ตามแต่สภาพการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมือง การปกครอง วัฒนธรรม ค่านิยม และปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับยุคสมัยนั้น ๆ ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด บทบาท พฤติกรรม การปฏิบัติ และการแสดงออกทั้งทางด้านสังคมและศิลปะ รวมไปถึงการแสดงออกทางงานสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏเป็นงานสกุลช่างรัตนโกสินทร์ ในแต่ละช่วงเวลาของการครองราชสมบัติในรัชกาลต่างๆขึ้นภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงเป็นพระอารามหลวง ประจำรัชสมัยรัตนโกสินทร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าทางสถาปัตยกรรม โดยอาศัยภูมิปัญญา และปรัชญาของบรรพชนที่มีบทบาทในการรังสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรม และ ศิลปกรรมอื่น ๆ ด้วยการผนวกเอาแนวความคิด บทบาท คติทางพระพุทธศาสนาและปัจจัยทางคติอื่น ๆ เข้ามาถ่ายทอดออกเป็นรูปธรรม เกิดเป็นลักษณะเฉพาะตัวของช่างฝีมือประจำแต่ละรัชสมัย ผสมผสานกันในบริเวณสถานที่ที่เดียว จนกลายเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาทางสถาปัตยกรรมสืบต่อเรื่อยมา ที่มีลักษณะเฉพาะแห่งเกิดขึ้น
ขบวนการออกแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จึงนับได้ว่าเป็นการจัดองค์ประกอบทั้งทางด้านโครงสร้างผังบริเวณและอาคาร ให้เป็นไปตามแนวความคิดที่จะรังสรรค์ผลงานทางสถาปัตยกรรม จนกลายเป็นมรดกที่มีคุณค่าหนึ่งทางการแสดงออกของแนวความคิด วิธีจัดระบบการออกแบบและรูปแบบทางสถาปัตยกรรม ให้ปรากฏเป็นศาสตร์และสมบัติทางภูมิปัญญาสถาปัตยกรรม แก่ประเทศชาติและของโลก A purpose of studying in the Architectural Design's Development at Wat Phra Sri Rattana Sadsadaram is aimed to show the idea of change and adjustment which became a development of architecture and art objects within Wat Phra Sri Rattana Sudsadaram.
Since the first establishment of the Royal Monastery in the reign of King Rama (the First King of Jakri Dynasty) Who has adapted the royal custom and culture of the lated Ayutthaya period under the influence of the style and concept. A style of art of the Royal Monastery in Royal Palace indicated a continuation of the past ways and values (such as Sukhothai and Ayutthaya, etc.). The transformation and change in a concept or attitude according to the chronology of Rattnakosin period, denoted a faithfulness in the traditional style which was varied (in different or harmonious condition) from the original idea depended upon a changing of Society, politic, culture, value and another elements that occurred in each era. The effects of change that appear on idea, role, behavior and performance entirely express on society and arts, especially the architectural of Rattanakosin school.
Wat Phra Sri Rattana Sadsadararn, is the royal temple in Rattanakosin period, express the value of architectures and others arts. Which mirror the intellectual of their ancestors adding with concept, role Buddha words and another ways. The character of architectural related arts of Wat Phra Sri Rattana Sadsadaram appears its own style of the Craftsmanship in Rattanakosin era.
The Process of architectural 's design of Wat Phra Sri Rattana Sadsadaram is to be composed of plan, structure, and buildings for achieving in the concept of created architecture becoming the most important building which express idea, method of order’s design and style manifest a science and intellectual heritage of architecture in our nation and our world.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2541 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1998)
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
583