ผลิตผลอันไม่พึงปรารถนาของมนุษย์ 2548 / 2
Date:
2005
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Description:
ผลงานสร้างสรรค์ในระยะที่ 2 นี้ได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดของผลงานสร้างสรรค์ในระยะที่ 1 โดยการใช้สัญลักษณ์กล่าวถึงแนวความคิดเป็นหลัก แต่ในผลงานระยะที่ 2 นี้ ข้าพเจ้าใช้สัญลักษณ์ของ "มนุษย์ผู้ถูกกระทำ" เป็นตัวกล่าวประณามพฤติกรรมของ "มนุษย์ผู้เป็นฝ่ายกระทำ" ด้วยผลงานศิลปะภายใต้หัวข้อ "ผลิตผลอันไม่พึงปรารถนาของมนุษย์" โดยยังคงเป็นเรื่องราวที่สะท้อนในเรื่องของค่านิยมและเรื่องราวจากสภาพความเป็นไปของสังคมไทยในปัจจุบันเช่นเคย ซึ่งในช่วงแรกๆของการสร้างสรรค์ผลงานในระยะที่ 2 นี้ข้าพเจ้าเลือกใช้เทคนิคของการเขียนสีน้ำมันบนผ้าใบเป็นรูปของเด็กทารกด้วยร่างกายที่ดูไม่สมประกอบแล้วปิดผนึกลงบนกล่องไม้ ด้านบนปิดด้วยแผ่นพลาสติกใสที่เจาะรูแล้วเผาไฟเพื่อให้มีลักษณะคล้ายกับการถูกกัดเซาะจากด้านนอก ด้วยภาพของฝูงมดที่กำลังไต่ตอมและรุมทึ้งหวังกันกัดกินเข้าไปภายในทั้งนี้ก็เพื่อสื่อให้เห็นถึงความยากลำบากในการกำเนิดและการอยู่รอดของมนุษย์ผู้ไร้เดียงสา แต่ผลงานที่ออกมานั้นกลับไม่ให้ผลทางความรู้สึกได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากขาดบรรยากาศที่เชื่อมต่อกันระหว่างรูปทรงของเด็กที่เป็นพื้นหลังกับภาพของฝูงมดที่อยู่ทางด้านหน้าของผลงาน ต่อมาข้าพเจ้าจึงได้นำวิธีการจากการสร้างสรรค์ผลงานในระยะที่ 1 มาประยุกต์ใช้คือ กรรมวิธีการพิมพ์หมึกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Ink Jet) ลงบนแผ่นสติกเกอร์ใส (Sticker Clear Film) มาผสมผสานกับการทำกล่องในแบบกึ่ง 3 มิติที่ให้มองแต่เพียงด้านหน้าด้านเดียวด้วยกล่อง กระจกใส ซึ่งภายในบรรจุน้ำที่ผสมกับสี น้ำมันและอื่นๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เชื่อมต่อกันกับ รูปทรงของเด็กทารกกับภาพของฝูงมดทางด้านหน้าของกล่องใบนี้ กอปรกับรูปทรงที่ถูกจัดวางใน แบบลอยตัวคล้ายกับวัตถุที่นำมาประจานหรือประณามในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทำให้ผลงานมี ลักษณะที่ดูน่าสนใจมากขึ้นในเรื่องของบรรยากาศอันบางเบาชวนให้สัมผัสได้ถึงจิตวิญญาณของ เด็กน้อยที่รอคอยการถือกำเนิด แต่จิตวิญญาณของชีวิตเหล่านั้นกลับเริ่มที่จะแผ่วเบาลงในทุกๆ ขณะอีกครั้ง ซึ่งในส่วนของรูปทรงที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและแนวความคิดนั้น ข้าพเจ้าเองมองว่า ยังดูไม่น่าสนใจเท่าที่ควร และยังสามารถที่จะเพิ่มเติมหรือตัดทอนลงเพื่อให้สอดคล้องกับ แนวความคิดได้มากขึ้นอีก จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในด้านของรายละเอียดและการค้นคว้าหา ข้อมูลที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปรับปรุงในกรรมวิธีทางเทคนิคเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มาก ที่สุดจนเกิดเป็นเอกภาพเดียวกันในการสร้างสรรค์ผลงานในระยะต่อๆไป เทคนิค : จิตรกรรมผสม
ขนาด : 40x60 ซม.
Type:
Is part of:
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปมหาบัณฑิต เรื่อง “ผลิตผลอันไม่พึงปรารถนาของมนุษย์”
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Collections:
Total Download:
38