การศึกษาพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
Other Title:
A study on buddhist architecture from the period of King Taksin the Great to the period of King Rama the First
Subject:
Date:
2000
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษางานพุทธสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาเชื่อมต่อระหว่างการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 กับสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 1 การเกิดของงานพุทธสถาปัตยกรรมดังกล่าวนี้เป็นพุทธสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นในข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ (Time & Space) ที่แตกต่างและอยู่ห่างจากราชธานีอยุธยาเดิม เป็นงานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาแห่งการฟื้นฟูนสภาพบ้านเมืองขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และความสำเร็จของงานฟื้นฟูเกิดขึ้นอย่างแท้จริงในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชต่อมา
การศึกษาสามารถแยกออกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ พบว่าในช่วงระยะเวลา 15 ปี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นช่วงเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะศึกสงคราม ผู้คนยังอยู่ในภาวะสับสนอันเนื่องมาจากเพิ่งเสียกรุงราชธานี รูปแบบของงานพุทธสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น จะเป็นการซ่อมแซมอาคารเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่เป็นส่วนมากเนื่องจากข้อจำกัดของแรงงานช่างฝีมือและวัสดุก่อสร้าง การนับถือศาสนาอยู่ในรูปของการเน้นบุญฤทธิ์วิทยาคมมากกว่า การนับถือพุทธศาสนาในรูปแบบมนุษยนิยมที่อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ต่างจากงานพุทธสถาปัตยกรรมในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่มีแนวคิดต่างออกไป พระองค์สามารถใช้ศาสนาเป็นหลักการหนึ่งในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคม ให้คนในสังคมยอมรับในสถานะของพระองค์ได้โดยดุษฎี การเกิดของงานในสมัยรัชกาลที่ 1 มี 4 ลักษณะคือ
1) บูรณะพระอุโบสถเดิมที่มีอยู่และตกแต่งรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งพบว่าเป็นวัดที่อยู่ในฝั่งธนบุรีที่มีชุมชนเติมขนาดใหญ่อาศัยอยู่
2) บูรณะพระอุโบสถเดิมแด่เปลี่ยนประโยชน์ใช้สอย
3) รื้อพระอุโบสถเดิม และสร้างใหม่ให้ใหญ่สวยงามกว่าเดิม โดยมากเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของพระองค์ เพื่อประโยชน์ในการเสริมบุญญาธิการของพระองค์
4) ก่อสร้างใหม่ทั้งหมด
2. การศึกษาเชิงสถาปัตยกรรม พบว่ารูปแบบผังบริเวณยังคงลักษณะผังแกนเดี่ยวเน้นความสำคัญของพระอุโบสถ ซึ่งพบบ้างที่เป็นผังแกนคู่ โดยหันพระอุโบสถออกสู่ทางสัญจรหลัก ความสำคัญดังกล่าว แสดงออกโดยพระระเบียงคดที่สร้างขึ้นล้อมเขตพุทธาวาส อันเป็นลักษณะเฉพาะที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 1
ลักษณะหลังคาในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จะแบ่งออกเป็น 2 ซ้อน โดยซ้อนกลางคลุมห้อง พระอุโบสถ และซ้อนนอกคลุมพื้นที่เฉลียงหน้าแดกด่างจากสมัยรัชกาลที่ 1 ที่มีหลังคาคลุมห้องพระอุโบสถกลาง ถึง 2 ซ้อนและมีซ้อนนอกอีก 1 ชั้นคลุมพื้นที่เฉลียง รูปแบบหลังคาที่พบในสมัยรัชกาลที่ 1 มี 3 ลักษณะ ได้แก่
1) แบบมีหลังคาคลุมเฉลียงหน้า พบในพระอุโบสถที่บูรณะอาคารที่มีอยู่เดิม
2) แบบมีมุขลดคลุมพื้นที่เฉลียง พบในพระอุโบสถที่บูรณะอาคารที่มีอยู่เดิม
3) แบบหน้าจั่วมุขลดโดยมีหลังคาปีกนกใด้แผงจิ๋วจำนวนหลายดับ ต่อเนื่องจากด้านหน้าสู่ด้านข้าง มักพบในพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่
ลักษณะหน้าบันในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ปรากฏแน่ชัด แต่พบว่าแค่เดิมในพื้นที่บางกอกมี 2 ลักษณะคือ
1) รูปพระนารายณ์ทรงครุฑในพระอุโบสถขนาดใหญ่มีหน้าจั่วมุขลด
2) รูปจั่วพรหมพักตร์ในพระอุโบสถขนาดเล็ก
หน้าบันของพระอุโบสถที่บูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 1 จะมีลวดลายเครือเถาก้านขด โดยมีลายประธานกลางเป็นเทพพนม หรือ เทวดาประทับบนปัทมอาสน์ ปลายช่อเป็นรูปพุ่มช่อหางโด มีบ้างที่เป็นรูปสัตว์หิมพานต์ ส่วนหน้าบันของอาคารที่เป็นองค์ประกอบร่วมของผังบริเวณวัดยังคงพบลายประธานเป็นเทพพนม และปลายขดของลายประกอบเป็นรูปสัตว์หิมพานต์เป็นส่วนใหญ่ สำหรับหน้าบันของพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่มักพบว่ามีลายประธานเป็นพระนารายณ์ทรงครุฑและพระอินทร์ทรงช้าง
ลักษณะผังพื้นและฐานอาคาร พบว่ามีสัดส่วน 1 ต่อ 2 ในส่วนห้องโบสถ์ ซึ่งหากรวมพื้นที่เฉลียงหน้าและหลังแล้วสัดส่วนความกว้างต่อความยาวเท่ากับ 1 ต่อ 3 ยกเว้นพระอุโบสถที่สร้างใหม่โดยมีพาไลด้านข้าง จะยังคงมีสัดส่วน 1 ต่อ 21 เหมือนเดิม ฐานอาคารในสมัยอยุธยาเป็นฐานบัวและแอ่นท้องช้าง ซึ่งในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ยังคงมีอยู่บ้าง แต่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ลักษณะนี้ปรากฎน้อยจนถึงกับไม่มีอีกเลย
รูปด้านอาคารแต่เดิมมักมีลักษณะแคบยาว ไม่มีพาไลด้านข้างผนังด้านสกัดจะมีประตูกลางเพียงประตูเดียวหรือมีสองประดูซ้ายขวา ซึ่งเปลี่ยนไปในสมัยรัชกาลที่ 1 บางแห่งมีพาไลด้านข้างทำให้อาคารดูไม่แคบยาวอีกต่อไป ผนังด้านสกัดของพระอุโบสถที่บูรณะยังคงมีสองประตู แต่หากเป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่มักมี 3 ประตู อันเป็นรูปแบบที่มีมาแต่เดิมในราชธานีอยุธยา จำนวนห้องโบสถ์จะเป็นเลขคี่ตั้งแต่ 5 ถึง 9 เสมอ ส่วนเสาก่อประดับผังพบมากในสมัยรัชกาลที่ 1
ซุ้มประตูหน้าต่างในสมัยรัชกาลที่ 1 มักตกแต่งด้วยเครื่องยอดมณฑปหรือซุ้มบันแถลงที่มีลักษณะเฉพาะ
คันทวยไม้แกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 1 ประกอบด้วยสามส่วน ลักษณะเพรียวยึดเหมือนศิลปะในช่วงอยุธยา ตอนปลาย
ลักษณะซุ้มเสมา พบในรูปแบบที่มีมาแต่ครั้งอยุธยาตอนปลายที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่บางกอก สืบต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นรูปแบบ“ กูบช้าง” พบทั้งที่เปิดสองหน้าและสี่หน้า
รูปแบบเจดีย์ย่อมุมในสมัยรัชกาลที่ 1 จะมีองค์ระฆังค่อนข้างบางลง ยึดตัวสูงขึ้นมีบัวกลุ่มรับองค์ระฆัง และมียอดบัวกลุ่มแทนปล้องไฉนเสียส่วนใหญ่
อย่างไรก็ตามการศึกษานี้มีจุดประสงค์สำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นการเปิดประเด็นเพื่อเป็นแนวทางต่อผู้ที่สนใจสืบค้นต่อไปในอนาคต This thesis Concentrate on the study of Buddhist Architecture from the end of Ayudhaya to the beginning of Rattanakosin period. The character of Buddhist Architecture of this era was resulted from the limitation of the situation at the time and the place which was different and far distant from the old capital of Ayudhaya. Architecture during the reign of King Taksin the Great was mostly of reconstructioned and repaired. The successful development of Architecture can only realized during the reign of King Rama the First. This research looks into two aspects.
1. Historical: Druing the fifteen years reign of King Taksin the Great, the country was in time of war, people were disoreinted after the fall of Ayudhaya, Resulted from a long wearly war time period, cause the lack of good caftmen and construction materials. Buddhist Architecture often were just restoration of existing buildings Religious believe of this time was more a believe in super natural power than of realistic teaching of Buddha. On the other hand King Rama the First has used the religious teaching lo help organize social orders
We can categorize Buddhist Architecture during the reign of King Rama the First into four types.
1)Referbish existing Ubosot
These samples can be found in Thonburi area where there were large settlement
2) Restoration of existing Ubosot but to serve other functions
3) Demolish existing Ubosot and built completely new Ubosots which usaully are larget and more beautiful. Most of these Ubosot were of significant historical value. And usaully use to increase the King virtue
4) Built completely new Ubosot.
2. Architectural: Site plannings are usually to a single axis with the Ubosot take president and facing mayor trafic may be water way or road. And to strenghten these importance, a roofed over terrace were built around the Ubosot to signify Buddhavas (area separate from monk 's quarter) which is typify character of Buddhist architecture of King Rama the first period. Some pararell double axis can also be found when minor Ubosot were built.
Ubosots built During King Taksin Period, the roof of Ubosot often two tiers, The middle being the highest cover over the area of front and rear terrace of Ubosot. Where as during King Rama the First Period there usaully be two tiers over the body of the Ubosot and the lowest tier cover the front and rear terraces.
There are three types of roofing designs in King Rama the first period.
1) One characterize by a leanto roof over the front porch.
2) Tiered roof over front and rear porch
3) Tiered roof with the lowest tier being hip shape that sometime continue around the building, Often find in completely new building.
Gable design during King Taksin Period had no speci character. But found in Bangkok area to have two distinct charactors
1) Gable with Narai: (Visnu) standing on the shoulder of Garuda, often find on large Ubosot.
2) Gable with geometric design.
Gable of restored Ubosot under King Rama the First reign often has foliate spirals inspired decoration with at the center of the composition being of Thep Phanom posture or Thepa (angel) sitting on lotus-seat. At the end of the foliate spirals (pum cho hang to) sometime emerge mythical animals. The Gable motive for a newly built Ubosot the central figure often of Narai standing on Garuda or Intra at on an elephant.
Plan of Ubosot are of regtangular shape with one to two proportion and one to three when added front and rear porch. When Ubosot design with side porches the proportion as a whole would still be one to two. As for base of Ubosot the section profile Is of lotus petal. During Ayudhaya period the base has a slight curve down toward the middle which influence some of the Ubosot built in King Taksin Period but rarely see in the building done during King Rama the First riegn.
Elevation of the building is often long and narrow with no side porches There is only one door at the center of the front or two door in the front wall. This has change under King Rama the First Period which in some building there are side porches added, so the building does not look too long and narrow. There are two doors on front and back wall same as old Ubosot. In the case of a new Ubosot built during this time he stilled follow the tradition of Ayudhaya Period with 3 doors at each end of the Ubosot. There Usaully are 5 to 9 spans to the length of Ubosot, the member of spans would be of uneven number.
Door and window decoration eighter of tall spire in the shape of a traditional Crown (Yodmonthop) or a Buntalang in the Period of King Rama the First are long and slender like of Ayudhaya period.
Sema housing 's form of King Rama the First Period are a traditional continuing from Ayudhaya period in a form of the cover of elephant seat. Found in both open on two or four sides. Chedi during King Rama the First reign often has redented corners, the bell reign are tall and slender. The spire are formed with graduated lotus blossom instead of graduated flatten spheres.
The main objective of this study is to stimulate and offer direction to those who want to do further research.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2543 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 2000)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
326