พุทธปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

Other Title:
Buddha-Prang in the early Rattanakosin period
Author:
Date:
1991
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การศึกษาพุทธปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ ขององค์พุทธปรางค์ ตลอดจนองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ขององค์พุทธปรางค์ โดยเนื้อหาของวิทยานิพนธ์จะแบ่งออกเป็น 5 บท บทแรกเป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมากับความสำคัญของเรื่องและวิธีดำเนินการวิจัย บทที่ 2 กล่าวถึง อารยธรรมของเขมร อันเป็นต้นแบบหรือต้นเค้าของพุทธปรางค์ไทยในสมัยต่อ ๆ มา รวมถึงการศึกษาพุทธปรางค์สมัยต่าง ๆ ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 3 เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวประวัติความเป็นมา รูปแบบตำแหน่งที่ตั้ง และองค์ประกอบต่าง ๆ ของพุทธปรางค์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ บทที่ 4 เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบ รูปแบบขององค์พุทธปรางค์ และประติมากรรมที่ประดับตกแต่งองค์พุทธปรางค์ บทสุดท้ายเป็นการสรุปผลจากการศึกษาและข้อเสนอแนะ
จากผลของการศึกษาทำให้ทราบว่า พุทธปรางค์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นพุทธปรางค์ที่ได้รับการสืบเนื่องต่อมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ได้มีการพัฒนารูปแบบของปรางค์สู่ลักษณะของพุทธปรางค์แบบไทย ซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวได้เจริญและพัฒนาการถึงขั้นสูงสุดในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งพุทธปรางค์ที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น นับเป็นพุทธปรางค์ที่ได้รับการพัฒนาขั้นสูงสุดบรรลุเป็นพุทธปรางค์แบบไทยแท้ ที่สมบูรณ์ทั้งรูปแบบ การประดับตกแต่ง และความงาม The study of Buddha-Prang in Early Ratanakosin Period is aimed at studying the characteristic, form of the Buddha - Prang, and its architectural component. The content of this thesis is divided into 5 chapters. The first chapter is the introduction which tells how the thesis comes about, the importance of the issue, and methods for carrying out this research. The second chapter tells about the Khmer civilization which was to be the prototype of Buddha-Prang in later periods, it also includes the study of Buddha-Prang in different periods before Ratanakosin. The third chapter is a presentation of data about the history of the origin of Buddha-Prang, its form, its standing sites and other components of Buddha-Prang in Ratanakosin Period. The fourth chapter is a comparative analysis of the Buddha-Prang form and sculptural decorations on the Buddha-Prang itself. The last chapter is a summary of the result of this study and its suggestions.
From this study , it is found out that Buddha-Prang in Early Ratanakosin Period is a continual form handed down from Ayuddhaya Period , specifically the late Ayuddhaya Period. Its form had been developed to display a characteristic of the Thai form of Buddha-Prang. This distinct characteristic had thrived and developed in its highest level of Architectural excellence in the Early Ratanakosin Period. Buddha-Prang which had been built in Early Ratanakosin Period is considered as highest developed form that could have contained the true thai characteristic , complete in its form , decorative adornments, and beauty.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม)--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534 Thesis (M.A. (History of architecture))--Silpakorn University, 1991)
Type:
Discipline:
สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
Collections:
Total Download:
353