มาตรฐาน GAP: เครื่องมือควบคุมและสะสมทุนแบบยืดหยุ่น กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักเครือข่ายของโรงงานพืชผักสมบูรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
วันที่:
2021
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
มาตรฐาน GAP: เครื่องมือควบคุมและสะสมทุนแบบยืดหยุ่น กรณีศึกษา เกษตรกรผู้ปลูกพืชผักเครือข่าย ของโรงงานพืชผักสมบูรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้ศึกษากระบวนการทำงานของมาตรฐาน GAP ในการควบคุมการ ผลิตตลอดจนผลที่เกิดขึ้นกับวิถีชีวิตเกษตรกรเครือข่ายของโรงงานพืชผักสมบูรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่และศึกษาการต่อรองและการสะสมที่ทุนอาจเกิดขึ้นภายใต้มาตรฐาน GAP ของเกษตรเครือข่ายโรงงานพืชผักสมบูรณ์และนายทุนเจ้าของโรงงานพืชผักสมบูรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่
จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่ามาตรฐาน GAP ได้กลายเป็นเครื่องมือควบคุมเกษตรกรของโรงงานพืชผักสมบูรณ์และโครงการหลวง โดยเป็นการควบคุมผ่านการทำให้เกษตรกรเชื่อในชุดความรู้เกษตรปลอดภัย ซึ่งข้อกำหนดของมาตรฐาน GAP ในบางข้อได้กลายเป็นวิถีการทำการเกษตรของเกษตรกร ภายใต้การถูกควบคุม เกษตรกรได้พยายามผ่อนปรนและต่อรองกับมาตรฐาน GAP บนความเสี่ยงที่เกษตรกรสามารถรับได้ นอกจากนี้
โครงการหลวงและโรงงานพืชผักสมบูรณ์ยังสามารถสะสมทุนแบบยืดหยุ่นจากอำนาจในการกำหนดราคาการรับซื้อ ของเกษตรกรโดยอ้างอิงจากราคาตลาด และการผลักภาระการผลิตผลผลิตทางการเกษตรไปให้เกษตรกรเป็น ผู้รับผิดชอบ ซึ่งอำนาจนี้เกิดขึ้นภายใต้สัญญาใจ สัญญาใจจึงกลายเป็นช่องว่างที่ทำให้เกษตรกรรู้สึกถึงการเป็นผู้ประกอบการ เกษตรกรสามารถจัดการผลผลิตของตนเองได้ตามแต่ที่จะไม่สร้างความขัดแย้งกับโครงการหลวง และโรงงานพืชผักสมบูรณ์
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชา:
ภาควิชามานุษยวิทยา
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
81