การศึกษาระบบเสียงภาษาเขมรโบราณสมัยกลาง [ยุคหลังพระนคร]
ชื่อเรื่องอื่น:
A phonological study of middle Khmer [post-Ankorean]
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1986
สำนักพิมพ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาระบบเสียงภาษาเขมรโบราณสมัยกลาง (Middle Khmer) โดยศึกษาจากจารึกเขมรโบราณ พบที่ปราสาทนครวัต ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากคำที่บันทึกไว้ด้วยรูปตัวเขียนในสมัยนั้นตามหลักการทางภาษาศาสตร์เชิงประวัติและเปรียบเทียบ (Historical and Comparative Linguistic) การวิเคราะห์จะใช้หลักการวิเคราะห์หน่วยเสียงตามแนวทางภาษาศาสตร์ (Phone-mic Analysis) เพื่อหาหน่วยเสียงที่สำคัญ (distinguished phone me) ของระบบเสียงพยัญชนะ และระบบเสียงสระในภาษาเขมรสมัยกลาง ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ระบบเสียงในภาษาเขมรสมัยนี้ แบ่งออกเป็นระบบเสียงพยัญชนะและระบบเสียงสระ ในระบบเสียงพยัญชนะประกอบด้วย หน่วยเสียงพยัญชนะต้นคำ (Initial) จำนวน 19 หน่วยเสียง หน่วยเสียงพยัญชนะที่เกิดท้ายคำ (Final) มีจำนวน 14 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงพยัญชนะควบกล้ำ (Cluster) มีทั้งหมด 74 หน่วยเสียง สำหรับระบบเสียงสระนั้น แบ่งได้เป็นระบบเสียงสระเดี่ยว มี 7 หน่วยเสียง มีหน่วยเสียงที่เป็นสระเสียงยาวเพียง 2 หน่วยเสียง อีกระบบหนึ่งคือ ระบบเสียงสระประสม มีอยู่ 2 หน่วยเสียง The purpose of this research was to study the Phonological system of Middle Khmer. The researcher studied the old khmer inscription found at Prasat Angkor (Nakhon-Wat in Cambodia) which had been dated around the 20th century B.E. The analysis of the data based upon the orthography in that period. The method of historical and comparative linguistic was involved in the process of analysis. Phonemic Analysis takes a great role in order to distinguish the phonemes of Middle Khmer consonant and vowel system. The findinges can be summarized as follows. Phonological System of Middle Khmer consists of two systems : consonantal and vowel. The consonant system consists of 19 initial phonemes, 14 phonemes of finals and of clusters 74 phonemes. The vowel system can be divided into 2 systems : one is the simple vowel system, another is the dipthonguisation. There are 7 phonemes, two phonemes out of these are long vowels. There are 2 phonemes for the dipthongs.
คำบรรยาย:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาตะวันออก))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2529
ประเภทผลงาน:
ชื่อปริญญา:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา:
จารึกภาษาตะวันออก
ช่วงเวลา:
เขมรโบราณสมัยกลาง
เจ้าของลิขสิทธิ์:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
จำนวนดาวน์โหลด:
213