GUIDELINES FOR AN ADAPTATION OF TRADITIONAL COMMUNITIES FOR SURVIVAL UNDER GENTRIFICATION PHENOMENA IN THE NEW CENTRAL BUSINESS DISTRICTOF BANGKOK
แนวทางการปรับตัวของชุมชนดั้งเดิมเพื่อความอยู่รอดภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันในเขตพื้นที่ศูนย์กลางธุรกิจใหม่ของกรุงเทพมหานคร
Author:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
This research aims to study the changes in the studied area that led to the gentrification phenomena. It also studies the effects of gentrification on the way of life of the inhabitants of the studied area and the adaptation for survival under the gentrification of the inhabitants, investigating the urban planning measures or approaches that can enable indigenous communities to live under gentrification. Data were collected by surveying the physical characteristics of the area and the changes in socio-economic characteristics during 2007-2020 in order to draw conclusions leading to the projection of changes in the area within a radius of 1,000 meters from MRT Rama IX Station including interviews two key informants consisted of five of duties of government agencies related to urban development and five of community leaders or people in the studied area. Then, data were analyzed by content analysis method.
The research found that the studied area have undergone significant physical changes, especially in the present Central Grand area, which has been replaced by a new development model. It is a business district development project with a mixed commercial area. Previously, the land was used for small residential and commercial purposes but has changed into high-rise buildings and large modern buildings. The study area has become a commercial and interchange transportation center with high-dense residential area. Migration of people with higher social status replaces old community of vulnerable populations that are unable to survive leading to the occurrence of a phenomena that is considered to be a gentrification phenomenon, economic expansion and growth of the studied area affects the way of life of the former residents, especially vulnerable population or people in communities with inferior status. The cost of living has increased dramatically. Low-income people who have insufficient income to meet the cost of living, suffer for the lower quality of life and community livelihood, as well as social inequality. The study area has encounter with pollution caused by construction on site. The in-depth interview however shows that, the former residents in Rama IX district have adapted to survive by restricted domestic financial plan without governance subsidies for the higher living cost. The study also found that urban planning measures and governance guidelines that related to the district (fail to enable indigenous communities to live under the gentrification phenomena) including smart communities, housing development in tandem with building a strong society, troubleshooting urban poor planning, managing the area properly, implementation of a comprehensive housing system, reducing the vulnerability of urban populations, and increasing the inclusion of the public areas of the city to meet the lifestyle of all groups through the management of the city. However, an implementation of such urban planning measures and governance guidelines still problems or obstacles that prevent the performance from achieving all the desired objectives especially, understanding and creating an engagement between government agencies, the private sector, and the public sector. การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศึกษาที่นำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน รวมทั้งศึกษาผลกระทบของปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่กลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ศึกษาและแนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชันของกลุ่มผู้อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ศึกษา และศึกษามาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางที่สามารถเอื้อให้กลุ่มชุมชนดั้งเดิมสามารถอาศัยอยู่ได้ภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจข้อมูลลักษณะทางกายภาพของพื้นที่และการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม ในช่วงปี 2550 – 2563 เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่นำไปสู่การฉายภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ที่อยู่ในระยะรัศมี 1,000 เมตร จากรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสถานีพระรามเก้า ประกอบกับการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง จำนวน 5 ราย และผู้นำชุมชนหรือประชาชนในพื้นที่ศึกษา จำนวน 5 ราย จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เซ็นทรัลแกรนด์ในปัจจุบันซึ่งถูกปรับเปลี่ยนแทนที่ด้วยรูปแบบของการจัดการพื้นที่ใหม่เป็นโครงการพัฒนาย่านธุรกิจและพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสมผสาน จากเดิมที่เคยมีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและพาณิชยกรรมขนาดเล็ก รวมถึงรูปแบบของสถาปัตยกรรมอาคารเปลี่ยนไปเป็นอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่ที่มีความทันสมัย ทำให้พื้นที่ศึกษากลายเป็นแหล่งการค้า การบริการ ศูนย์คมนาคม และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เกิดการย้ายถิ่นเข้าพื้นที่ของคนที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่า ในขณะที่มีการย้ายถิ่นออกจากพื้นที่ชุมชนเดิมของประชากรกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ นำไปสู่การเกิดปรากฏการณ์ที่เข้าข่ายเป็นปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน นอกจากนี้ ยังพบว่าพื้นที่ศึกษามีการขยายตัวและเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของกลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในเขตพื้นที่ศึกษา โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเปราะบางหรือคนในชุมชนที่มีสถานะด้อยกว่า ส่งผลให้ค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพขาดความเป็นอยู่และขาดคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านสังคม ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ส่งผลให้พื้นที่ศึกษามีมลพิษเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่ศึกษามีการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด โดยการวางแผนการใช้จ่ายอย่างรอบคอบและประหยัด จากการศึกษามาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางการพัฒนาของรัฐในพื้นที่ศึกษา พบว่ามีมาตรการที่สามารถเอื้อให้กลุ่มชุมชนดั้งเดิมสามารถอาศัยอยู่ได้ภายใต้ปรากฏการณ์เจนตริฟิเคชัน ซึ่งประกอบด้วย การขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะเพื่อยกระดับชุมชนอัจฉริยะ การพัฒนาที่อยู่อาศัยควบคู่กับการสร้างสังคมเข้มแข็ง การแก้ไขปัญหาคนจนเมือง การวางแผนจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม การใช้ระบบที่อยู่อาศัยครบวงจร การลดภาวะเปราะบางของประชากรในเมือง และการเพิ่มความเป็นส่วนรวมให้กับพื้นที่สาธารณะของเมืองให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของทุกกลุ่มผ่านการบริหารจัดการพื้นที่ของเมือง แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตามมาตรการทางผังเมืองหรือแนวทางดังกล่าวยังพบปัญหาหรืออุปสรรคที่ทำให้ผลการดำเนินงานยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำความเข้าใจและสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
Type:
Discipline:
หลักสูตรการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อมมหาบัณฑิต แผน ก แบบ ก 2
Collections:
Total Download:
86