การศึกษารูปคำภาษามอญโบราณจากจารึกที่พบในประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-17
Other Title:
A study of old mon word forms from inscriptions found in Thailand dating between the 12th-17th centuries B.E
Advisor:
Date:
2013
Publisher:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาจารึกภาษามอญโบราณที่พบในประเทศไทย เพื่อศึกษาพัฒนาการรูปคำสัพท์ และเพื่อรวบรวมจารึกภาษามอญโบราณที่พบในประเทศไทย เพื่อทราบถึงจำนวนที่ได้พบในประเทศไทย และลักษณะของจารึกดังกล่าว และเพื่อปรับข้อมูลของจารึกให้เป็นปัจจุบัน จารึกภาษามอญโบราณที่พบในประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคที่ 1 อยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-13 จารึกถูกพบในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยและเขียนด้วยรูปแบบอักษรปัลลวะ ยุคที่ 2 อยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-15 จารึกถูกพบในบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และเขียนด้วยรูปแบบอักษรหลังปัลลวะ ยุคที่ 3 อยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 จารึกถูกพบในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยและเขียนด้วยรูปแบบอักษรมอญโบราณ
ผู้วิจัยรวบรวมจารึกได้จำนวน 93 ชิ้น และเลือกจารึก 55 ชิ้นที่เขียนเป็นภาษามอญโบราณ และที่สามารถอ่านได้เพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษา พบรูปคำศัพท์ในจารึกภาษามอญโบราณ จำนวน 55 คำ ที่ปรากฎมากกว่าหนึ่งครั้ง แต่ไม่แปรรูปและพบจำนวน 76 คำ ที่มีการแปรรูป คำศัพท์ที่ไม่แปรรูปมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดี่ยวที่มีพยัญชนะต้นกับสระเดี่ยวและไม่มีพยัญชนะสะกด คำศัพท์ที่แปรรูปมีโครงสร้างหลากหลาย เช่น คำที่พยัญชนะควบ คำที่มีพยัญชนะสะกด คำที่มีสระเสียงยาวหรือสระประสม และคำที่มีมากกว่าหนึ่งพยางค์ การแปรรูปคำมักเป็นการแปรในคำยืมภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต การแปรที่เกิดในพยางค์ การแปรของพยัญชนะ การแปลของสระ และการแปรของคำศัพท์ที่มีเครื่องหมายวิราม ผู้วิจัยพบว่า ลักษณะรูปคำในทั้งยุคที่ 1 และยุคที่ 2 มีความคล้ายกันมากกว่ารูปคำในยุคที่ 3 ซึ่งมีการแปรรูปมากกว่า The purpose of this research project is to study the Old Mon Inscriptions discovered in Thailand to study the development of word forms, and to compile the Old Mon inscriptions which have been found in Thailand to know the number to have been discovered and the characteristics of these inscriptions, as well as to update the information about them. The Old Mon inscription found in Thailand can be divided into 3 periods. Period 1 is approximately the 12-13th B.E.; the inscription have been discovered in Central Thailand, and are written with the Pallava style script. Period 2 is approximately the 14-15th B.E.; the inscription have been discovered in Central Thailand and Northeaster Thailand, and are written with the Post-Pallava style script. Period 3 is approximately the 16-17 the B.E.; the inscriptions have been discovered in Northern Thailand, and are written with the Old Mon style script.
The researcher complied 93 inscriptions, and selected 55 legible inscriptions written in Old Mon to be the study group. The result of the study revealed that 55 words appeared more than once, but without variation, and 76 words were found with variation. Word with no variation tend to be mono-syllabic with a single initial consonant and a simple vowel, and no final consonant. Words with variations have different structures, such as having consonant clusters, final consonants, long vowels or diphthongs, and poly-syllabic words. Most variations are in Palli and Sanskrit borrow words, syllable structures, consonants, vowels and words with the viram symbol. The researcher found that the characteristics of word forms in Period 1 and Period 2 are more similar than word forms in Period 3, which display greater variation.
Description:
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (จารึกภาษาตะวันออก))--มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.
Type:
Degree Name:
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Discipline:
จารึกภาษาตะวันออก
Temporal Coverage:
พุทธศตวรรษที่ 12-17
Rights Holder:
มหาวิทยาลัยศิลปากร
Total Download:
622