THE DEVELOPMENT OF SCIENCE LEARNING ACTIVITY BY G-PAS 5 STEPS LEARNING WITH PLACE BASED LEARINIG FOR CREATIVE THININK PLOBLEM SOLVING FOR THIRD GRADE STUDENTS
การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ GPAS 5 Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Author:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purposes of this research were to 1) Study the fundamental data to the development of science learning activity by g-pas 5 steps learning with place based learning for creative problem solving thinking for third grade students 2) Develop and find quality of science learning activity 3)Experiment of the learning activity package 4) To study the effectiveness of the activity package 4.1) Compare the learning 4.2) Study the ability of creative problem solving thinking 4.3) Study psychology of students 4.4)Study the opinions after learning of students. The sample at the research were third grade students for the first semester of the academic year 2021 at Saiyokyai School
The instruments the research were 1) The Development of science learning activity 2) Eight Ecosystem Learning Management Lesson Plan 3) A ecosystem learning test by outcomes 20-item and four-choice 4) Creative problem-solving thinking evaluation form 5) psychological evaluation form 6) opinion evaluation form. The statistics used in the data analysis were percentage (%) , Average (X-) , Standard Deviation (S.D.), Content Analysis (t-test)
The results were as follows:
1. The results of study the development of science learning activity were organizing learning activities that it allows students to practice and discover knowledge with themselves. It is operated by the Ecosystem Content Group. The results were assessed to cover cognitive behaviors, cognitive abilities, range skills by using a variety of measuring tools.
2. The results of the development of learning activities. Activity groups are tools that teachers can use to organize teaching activities. 1) the name of the activity 2) the introduction 3) the user manual 4) the teacher's statement. 5) Instructions for students 6) Subject matter/objectives 7) Learning activities by g-pas 5 steps for examples, Gathering ,Processing ,Applying and Constructing the Knowledge ,Applying the Communication Skill , Self-Regulating 8) Lesson plans 9) resources 10) Knowledge sheets/work worksheet 11) the suitability and quality were at a very good level (= 4.60, S.D. = 0.14).
3. The study was conducted for 24 hours and the learning 8 plans, 3 hours each plan, totaling 24 hours of teaching in science courses.
4. The results evaluation for learning activity package were 1) The results of learning outcomes after learning activity experiment higher thon before the experiment 2) The students were found that the students' ability to think creatively and solve problems was at a very good level. (=3.51, S.D.=0.53). 3)The psychology of students were high-level. (=4.22, S.D.=0.66). 4) The overall opinions of student were at a very good level (=4.41, S.D.=0.62).
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ GPAS 5Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนาและหาคุณภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3) ทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 4) ศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ได้แก่ 4.1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ 4.2) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 4.3) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 4.4) ศึกษาความคิดเห็นหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนไทรโยคใหญ่ จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความสามารถการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 5) แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ 6) แบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ (%) , ค่าเฉลี่ย (X-) , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ,การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ พบว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องมีความต้องการในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง ด้วยกระบวนการกลุ่ม โดยใช้แหล่งเรียนในชุมชน มีการวัดผลและประเมินผลให้ครอบคลุมพฤติกรรมและหลายรูปแบบ
2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) นักสืบไทรโยค 2) ระบบนิเวศไทรโยค 3) วัฏจักรไทรโยค 4) ชุมชนในฝัน ใช้การจัดการเรียนรู้ด้วย GPAS 5 steps ได้แก่ 1) ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล 2) ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้ 3) ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ 4) ขั้นสื่อสารและนำเสนอ 5) ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ โดยมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (= 4.60, S.D.=0.14)
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ มีการทดสอบก่อนเรียน จัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรีนรู้ 4 กิจกรรม จำนวน 8 แผน แผนละ 3 ชั่วโมง รวมจำนวน 24 ชั่วโมง ด้วยการจัดการเรียนรู้ GPAS 5 steps และใช้แหล่งเรียนรู้อุทยานแห่งชาตไทรโยค น้ำตกไทรโยคใหญ่ โดยมีเจ้าหน้าที่อุทยานร่วมให้ความรู้ ทำการทดสอบหลังเรียนและประเมินผลต่าง ๆ
4. ผลการประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ พบว่า 4.1) นักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ สูงกว่าก่อนเรียน 4.2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีมาก (=3.51, S.D.=0.53) 4.3) นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก (=4.22, S.D.=0.66) 4.4) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (=4.41, S.D.=0.62)
Type:
Discipline:
หลักสูตรและการสอน แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
234
Metadata
Show full item recordRelated items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบผสมผสานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ
Collection: Theses (Master's degree) - Architectural Heritage Management and Tourism / วิทยานิพนธ์ - การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยวType: Thesisมนสิชา เปล่งเจริญศิริชัย; Monsicha Plengcharoensirichai (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2014) -
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ท 32101 ภาษาไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
Collection: Theses (Master's degree) - Teaching Thai Language / วิทยานิพนธ์ – การสอนภาษาไทยType: Thesisสุนันท์ กล่อมฤทธิ์; Sunan Klomrit (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2004) -
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนและแบบการเรียนที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีเรียนแบบประชุมทางคอมพิวเตอร์
Collection: Theses (Master's degree) - Educational Technology / วิทยานิพนธ์ – เทคโนโลยีการศึกษาType: Thesisขวัญอรุณ สถากุลเจริญ; Kwanaroon Sathakulcharoen (มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2001)