THE EFFECTS OF USING GEO – INQUIRY PROCESS ON FUTURE THINKING ABILITIES OF TENTH GRADE STUDENTS ENROLLING IN SOUTHEAST ASIA WORLD COURSE
ผลการจัดการเรียนรู้วิชาโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้แต่ง:
ที่ปรึกษา:
หัวเรื่อง:
วันที่:
1/7/2022
สำนักพิมพ์:
Silpakorn University
บทคัดย่อ:
The purposes of this research were to 1) compare the learning achievement on Southeast Asia World of tenth grade students before and after they studied Geo – Inquiry Process 2) compare the Future Thinking Skills before and after they studied Geo – Inquiry Process and 3) study opinions of tenth grade students towards Geo – Inquiry Process. The sample used in this research was 40 tenth grade students of first semester in 2021 at Saint Gabriel’s college, Bangkok random by volunteer sampling.
The instruments used in the study were 1) lesson plans 2) an achievement test on Southeast Asia World 3) a Future Thinking Skills test and 4) a questionnaire for opinions of students towards Geo – Inquiry Process. The data were analyzed by using mean (M), standard deviation (S.D.), t-test for dependent and content analysis.
The research results revealed that:
1. The learning achievement on Southeast Asia World of tenth grade students after the use of Geo – Inquiry Process was higher than before the use of Geo – Inquiry Process with statistical significance at the level of .05.
2. The Future Thinking Skills of tenth grade students after the use of Geo – Inquiry Process were higher than before the use of Geo – Inquiry Process with statistical significance at the level of .05.
3. Opinions of tenth grade students towards Geo – Inquiry Process overall is on the high level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโลกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงอนาคตก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอาสาสมัคร (Volunteer Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงอนาคต และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการสืบเสาะทางภูมิศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก นักเรียนเห็นด้วยในด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านเนื้อหา ตามลำดับ
ประเภทผลงาน:
สาขาวิชา:
การสอนสังคมศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
คอลเล็คชัน:
จำนวนดาวน์โหลด:
140