DEVELOPMENT OF CRITICAL THINKING ABILITY BY USING GAME-BASED LEARNING METHOD ON THE DEVELOPMENT, COOPERATION AND CONFLICT IN INTERNATIONAL HISTORY OF MATHAYOMSUKSA 3 STUDENTS AT SILPAKORN UNIVERSITY DEMONSTRATION SCHOOL
การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากลของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purposes of this experimental research were 1) to compare critical thinking ability on the development, cooperation and conflict in international history of Mathayomsuksa 3 students before and after using the Game-based learning method, and 2) to study the opinions of students about using Game-based learning. This research involved an experimental approach. The sample group used in this research comprised 1 classroom with a total of 37 students in Mathayomsuksa 3 students at the Demonstration School of Silpakorn University, Nakhon Pathom. Research was conducted during the first semester of academic Year 2020, with data obtained using a simple random sampling method. The research tools included 1) a learning management plan for using the Game-based learning method, 2) a test of critical thinking ability, and 3) a questionnaire for students. The statistical values used in the data analysis of this research were percentage, mean (x̄), standard deviation (S.D.) and, t-test: Two dependent samples test.
The results of this research were as follows: 1. The critical thinking ability, after using the Game-based learning method (x̄ = 25.46 S.D. = 5.16) higher than before using the Game-based learning method (x̄ = 9.54 S.D. = 3.53), and higher critical thinking ability than before using the learning management with the game statistical significance at .05 level, and 2. The opinions of students after using Game-based learning method were at the highest agreement level (x̄ = 4.35, S.D. = 0.73) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมฯ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 37 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากลที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเกม 2) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เกี่ยวข้องกัน (t-test - Two dependent samples test)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากล ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (x̄ = 25.46 S.D. = 5.16) สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม (x̄ = 9.54 S.D. = 3.53) และความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2. ความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (x̄ = 4.35, S.D. = 0.73)
Type:
Discipline:
การสอนสังคมศึกษา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
1119