ADMINISTRATION FOR PRIVATE SCHOOL IN DIGITAL ERA
การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล
Author:
Advisor:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The objective of this research was to study the administration for private school in digital era by using the EFR technique (Ethnographic futures research) through unstructured interviews and questionnaires with jury of 13 experts. the statistics used to analyze the data were median and interquartile range by using software packages and content analysis.
The research results were as follows:
The administration of private school in digital era is a multi-method to support the administrative process of the administration in school to accordance with social
change which consists of 1) the framework and direction of planning should analyze the environment to ensure that consistent with the school context and social change.
2) curriculum development of private schools should focus on creativity Innovations and upskills that enable to develop thinking processes 3) instructional development should focus on learner participation taking into consideration of differences in the potential of individual learners. 4) human resource recruitment should focus on personnel who have the knowledge and digital skills for learning management and has an open attitude towards cultural diversity. 5) human resource development should encourage and develop the digital capability of personnel to facilitate in teaching 6) Budget planning must cover the allocation of digital device and require networking with various departments in both of the public and private sectors to supporting the digital device 7) supporting and using technology for quality educational management to suit the learner's environment and school management. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบการบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล
ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงอนาคตแบบชาติพันธุ์วรรณา ผู้วิจัยทำการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิแบบเจาะจง
จำนวน 13 คน โดยการใช้การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างและแบบสอบถามความคิดเห็นเป็นเครื่องมือ
ในการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและ
การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
การบริหารสถานศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัลเป็นพหุวิธีการสนับสนุนกระบวนการบริหารจัดการ
ของสถานศึกษาให้สอดรับการการเปลี่ยนแปลงแห่งยุคสมัยซึ่งประกอบด้วย 1) การวางแผนกำหนดกรอบและทิศทางควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้แผนสอดคล้อง
และเหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม 2) การพัฒนาหลักสูตร
ของสถานศึกษาควรมุ่งเน้นความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและทักษะต่างๆ ที่จำเป็นในยุคดิจิทัลให้ผู้เรียน
เกิดกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher-Over Thinking) ด้วยการวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์อย่างเป็น
ระบบ 3) การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาเอกชนควรมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียน เช่น การเรียนรู้แบบ Active learning การสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) เป็นต้น โดยคำนึงถึงความแตกต่างทางศักยภาพ
ของผู้เรียนรายบุคคล 4) การคัดเลือกทรัพยากรมนุษย์ ควรคัดเลือกบุคลากรที่มีองค์ความรู้และทักษะ
ที่จำเป็นในการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน และมีทัศนคติที่เปิดรับ
ความหลากหลายทางวัฒนธรรมในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากรเพื่อให้เอื้ออำนวยต่อ
การจัดการเรียนรู้ 6) การวางแผนงบประมาณต้องครอบคลุมการจัดสรรทรัพยากรที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและต้องมีการสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการสนับสนุนเงินงบประมาณด้านสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยี 7) การสนับสนุนและใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการศึกษาควรมีการจัดสรรอุปกรณ์ดิจิทัลที่มีคุณภาพและพัฒนาสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของบุคลากร ผู้เรียน และการดำเนินงานของสถานศึกษา
Type:
Discipline:
การบริหารการศึกษา แบบ 2.1 ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
Collections:
Total Download:
445