The Study Strategies of Language and Social Concepts in the Music by Nattawut Srimhok ‘Fucking Hero’
การศึกษากลวิธีการใช้ภาษาและมโนทัศน์ทางสังคมในเพลงของณัฐวุฒิ ศรีหมอก ‘ฟักกลิ้ง ฮีโร่’
Author:
Advisor:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The current independent study aims to examine language strategies and social concepts in the songs belonging to Nattawut Srimhok (Fucking Hero). The scope of the study is mainly focused on only the songs performed by Nattawut Srimhok (Fucking Hero) from 2003 to 2018. Total 40 songs featured with other singers and used as original soundtracks in television series and movies are excluded from the study.
The results of the study found that there were five aspects of language strategies including 1) the use of sound with three patterns: reduplication, alliteration and homophones, 2) the use of word with seven patterns: vulgar languages, foreign languages, slangs, word segmentation, abbreviations, exclamations and dialects, 3) sentential repetition patterns, 4) the use of expressions or idioms, and 5) the use of figures with seven patterns: rhetorical question, personification, simile, metaphor, metonymy, hyperbole, and onomatopoeia.
The results also exhibited that there were two aspects of social concepts including (1) concepts about life with three patterns: 1) concept of life with three patterns: responsibility, acceptance, and encouragement 2) concepts of love with two patterns: adolescent love and parental love (2) concepts of social mirror in Thailand with seven aspects of social concepts including 1) adolescence 2) social conflict 3) sexual harassment 4) drug 5) inequality 6) socially harmonic and 7) politics with two patterns: oppression from the corruption, and demands for democracy.
The abovementioned results present language strategies and social concepts by proposing the songs’ viewpoints and stories through perception in order that the audience understand the feelings. This is considered a process of strategy production of the artist for fascination, and expresses the identity of the artist through the pattern of rap songs which are now rising in popularity in the society. การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาและเพื่อศึกษามโนทัศน์ทางสังคมในบทเพลง ของ ณัฐวุฒิ ศรีหมอก (ฟักกลิ้ง ฮีโร่) โดยจะศึกษาเฉพาะบทเพลงที่ขับร้องโดย ณัฐวุฒิ ศรีหมอก (ฟักกลิ้ง ฮีโร่) ระหว่างปี พ.ศ. 2546 ถึง พ.ศ. 2561 เป็นองค์ประกอบหลัก จะไม่ศึกษาเพลงที่เป็นผลงานร่วมรับเชิญกับศิลปินท่านอื่น (Featuring) เพลงที่ใช้ประกอบละครโทรทัศน์ และเพลงประกอบภาพยนตร์ทุกเพลง รวมจำนวนทั้งสิ้น 40 เพลง
ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการใช้ภาษา พบ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้เสียง พบ 3 รูปแบบ ได้แก่ การเล่นเสียงโดยการซ้ำคำ การเล่นเสียงสัมผัสอักษร และการพ้องเสียง 2) การใช้คำ พบ 7 รูปแบบ ได้แก่ คำหยาบ คำภาษาต่างประเทศ คำสแลง ตัดคำเต็ม อักษรย่อ คำอุทาน และภาษาถิ่น 3) การซ้ำกระสวนประโยค 4) การใช้สำนวน และ 5) การใช้ภาพพจน์ พบ 7 รูปแบบ ได้แก่ การใช้ปฏิปุจฉา การใช้บุคลาธิษฐาน การใช้อุปมา การใช้อุปลักษณ์ ใช้นามนัย การใช้อติพจน์ และการใช้สัทพจน์
ด้านผลการศึกษามโนทัศน์ทางสังคม พบ 2 ด้าน ได้แก่ (1) มโนทัศน์เกี่ยวกับชีวิต พบ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการใช้ชีวิต มี 3 รูปแบบ คือ การรู้จักหน้าที่ การยอมรับผู้อื่น และการให้กำลังใจ 2) ด้านความรัก มี 2 รูปแบบ คือ ความรักของหนุ่มสาว และความรักของพ่อแม่ (2) มโนทัศน์เกี่ยวกับภาพสะท้อนในสังคมไทย พบ 7 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านวัยรุ่น 2) ด้านความขัดแย้งของคนในสังคม 3) ด้านการคุกคามทางเพศ 4) ด้านยาเสพติด 5) ด้านความเหลื่อมล้ำ 6) ด้านการสร้างความสามัคคี และ 7) ด้านการเมือง พบประเด็นย่อย 2 รูปแบบ ได้แก่ การคอรัปชั่น และการเรียกร้องประชาธิปไตย
ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นกลวิธีการใช้ภาษาและมโนทัศน์ทางสังคมของศิลปิน โดยนำเสนอมุมมองและเรื่องราวของบทเพลงผ่านการรับรู้เพื่อต้องการสื่อสารให้ผู้ฟังได้เข้าใจถึงความรู้สึก ถือเป็นการสร้างกลยุทธ์ของศิลปินเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ แสดงให้เห็นถึงความมีอัตลักษณ์ของศิลปินในการถ่ายทอดผ่านรูปแบบเพลงแร็ปที่กำลังได้รับกระแสนิยมจากสังคมในปัจจุบัน
Type:
Discipline:
ภาษาไทยเพื่อการพัฒนาอาชีพ แผน ข ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
370