Wat Phra Ngam, Bang Dua, Bang Pahan, Phra Nakhon Si Ayutthaya: The Study of Its Art Style
การวิเคราะห์ศิลปกรรมวัดพระงาม ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Author:
Subject:
Date:
1/7/2022
Publisher:
Silpakorn University
Abstract:
The purpose of this thesis is to study the art style in Wat Phra Ngam, Bang Dua Sub-district, Bang Pahan District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province to indicate the age of the architecture, the Buddha images and the mural paintings including the story interpretations and expressions in the paintings to answer the question who the patrons of this temple could be.
The results of the study reveal that the architecture within Wat Phra Ngam that consists of an ordination hall, a stupa, a Buddha's footprint hall, a vihara, a sermon hall, and monuments in a cemetery could be built during the Rattanakosin period. Inspired by royal craftsmanship and adapted to the creativity of local artisans, it could be dated to the reign of King Rama IV or the reign of King Rama V.
The mural paintings in the ordination hall were all designed at the same time and inspired by Tripitaka and Phra Pathomsombodhikatha written by Somdet Phra Maha Samana Chao Kromma Phra Paramanuchitchinorot. There are techniques that derived from traditional Thai paintings during the reign of King Rama III and Western style influences and techniques that were popular during the reign of King Rama IV. Moreover, names of the donors are found written on the walls, reflecting that the locals maintained their believes of merit and dedication to the religion which would lead to birth in the era of Phra Si Ariya Mettrai or meeting Nirvana. The mural paintings could be possibly dated between the reign of King Rama IV and the reign of King Rama V. The mural paintings in the Buddha's footprint hall were also inspired by Phra Pathomsombodhikatha and influenced by the styles and techniques from the artist Khrua In Khong. They could be possibly dated between the reign of King Rama IV and the reign of King Rama V.
The art style of Wat Phra Ngam shows a relationship with nearby temples. The group of painters could possibly be the same group that painted at Wat Muang. The group of patrons could be high-class people, the same group of people that patronizes Wat Woranayokrangsan Chetiyabanphataram or Wat Boromwong Isarawararam. วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบศิลปกรรมภายในวัดพระงาม ตำบลบางเดื่อ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อกำหนดอายุสมัยการสร้างสถาปัตยกรรม ประติมากรรมและจิตรกรรมฝาผนัง ศึกษาการแสดงออกในงานจิตรกรรมและเพื่อตอบคำถามว่ากลุ่มผู้อุปถัมภ์วัดควรเป็นกลุ่มใด
ผลการศึกษาพบว่า สถาปัตยกรรมภายในวัดพระงาม ได้แก่ อุโบสถ เจดีย์ มณฑปพระพุทธบาท วิหารจตุรมุข ศาลาการเปรียญ และสุสานหรืออนุสาวรีย์บรรจุอัฐิ มีรูปแบบที่บ่งบอกว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานช่างหลวง และปรับเปลี่ยนตามความคิดสร้างสรรค์ของช่างพื้นบ้าน กำหนดอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5
จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถมีการออกแบบขึ้นพร้อมกันทั้งหมด โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระไตรปิฎกและพระปฐมสมโพธิกถาของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีการใช้เทคนิคที่สืบทอดงานไทยประเพณีสมัยรัชกาลที่ 3 และเทคนิคอิทธิพลตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 4 และพบการเขียนชื่อผู้อุทิศ สะท้อนอิทธิพลความเชื่อว่าการสั่งสมบุญอุทิศพระศาสนาจะทำให้ได้ไปเกิดในยุคของพระศรีอาริยเมตไตรหรือพบพระนิพพาน กำหนดอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5 ส่วนจิตรกรรมในมณฑปพระพุทธบาทได้รับแรงบันดาลใจจากพระปฐมสมโพธิกถา และได้รับอิทธิพลทางด้านรูปแบบและเทคนิคมาจากช่างสกุลขรัวอินโข่ง กำหนดอายุอยู่ในช่วงรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 5
ศิลปกรรมแสดงความสัมพันธ์กับวัดบริเวณใกล้เคียงโดยอาจมีกลุ่มช่างที่เขียนจิตรกรรมเป็นกลุ่มเดียวกันกับวัดม่วง และอาจมีกลุ่มผู้อุปถัมภ์เป็นเจ้านายชั้นสูงกลุ่มเดียวกับที่อุปถัมภ์วัดวรนายกรังสรรค์เจติยบรรพตารามหรือวัดบรมวงศ์อิศรวราราม
Type:
Discipline:
ประวัติศาสตร์ศิลปะ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต
Collections:
Total Download:
209